ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: อรทัย จงเขตการ

ชื่อเรื่อง/Title: บูรณาการงานสุขภาพจิต ลดวิกฤติปัญหาฆ่าตัวตาย.

แหล่งที่มา/Source: การประชุมวิชาการ การป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตาย ครั้งที่ 8 เรื่อง "เสริมสร้างชีวิต ฝ่าวิกฤตโลกร้อน" วันที่ 7-8 กรกฎาคม 2551 ณ. โรงแรมลิตเติ้ลดั๊ก จังหวัดเชียงใหม่, หน้า 111.

รายละเอียด / Details:

สถานการณ์ปัญหาการฆ่าตัวตาย ปัญหาสุขภาพจิต/โรคทางจิตเวชที่เป็นปัญหาสำคัญของจังหวัดอุทัยธานี ได้แก่ โรควิตกกังวล โรคจิต โรคซึมเศร้า และการพยายามฆ่าตัวตาย ด้วยอัตราป่วยด้วยโรควิตกกังวล 196.3 ต่อแสนประชากร โรคจิต 68.4 ต่อแสนประชากร โรคซึมเศร้า 34.7 ต่อแสนประชากร และมีอัตราการฆ่าตัวตาย 67.2 ต่อประชากรแสนคน ดัชนีวัดด้านสุขภาพจิตที่สำคัญ คือ การฆ่าตัวตาย ซึ่งจากรายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา ปี 2542-2549 พบว่าอัตราการฆ่าตัวตายมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นจาก 57.2 ต่อประชากรแสนคน ในปี 2542 เป็น 67.2 ต่อประชากรแสนคนในปี 2549 ในขณะที่อัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จมีแนวโน้มลดลงจาก 12.3 ต่อประชากรแสนคนในปี 2542 เป็น 9.2 ต่อประชากรแสนคนในปี 2549 แต่ยังคงเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญเนื่องจากมีอัตราการฆ่าตัวตายและอัตราฆ่าตัวตายสำเร็จสูงเกินกว่าเกณฑ์ที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด (อัตราฆ่าตัวตายไม่เกิน 40 ต่อแสนประชากร และฆ่าตัวตายสำเร็จไม่เกิน 6.3 ต่อประชากรแสนคน). จังหวัดอุทัยธานีเป็นจังหวัดหนึ่งที่พบว่าอัตราการฆ่าตัวตายสูง ซึ่งจากรายงานการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา ปี 2546-2548 พบว่า อัตราพยายามฆ่าตัวตาย 73.4, 57.7 และ 55.7 ต่อแสนประชากรและมีอัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จ 10.8,8.3 และ 6.8 ซึ่งมีแนวโน้มลดลง และต่อมาพบว่าในปี 2549 มีอัตราพยายามฆ่าตัวตาย 67.5 ต่อแสนประชากร และอัตราฆ่าตัวตายสำเร็จ 9.2 ต่อแสนประชากร ซึ่งเป็นอัตราเพิ่มสูงขึ้น ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากจังหวัดอุทัยธานีประสบปัญหาวิกฤตอุทกภัยในหลายพื้นที่. จากการศึกษาทางระบาดวิทยาปี 2550 พบว่า ผู้ที่พยายามฆ่าตัวตายหรือทำร้ายตนเองทั้งในกลุ่มที่เสียชีวิตและไม่เสียชีวิตเป็นเพศหญิง (ร้อยละ 57.1) มากว่าเพศชาย (ร้อยละ 42.9) ส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มอายุ 10-19 ปี (ร้อยละ 23.9) อายุ 20-29 ปี (ร้อยละ 21.9) และอายุ 30-39 ปี (ร้อยละ 20.9) ส่วนใหญ่อาชีพรับจ้าง (ร้อยละ 36.6) และเกษตรกร (ร้อยละ 24.4 ) แม่บ้าน (ร้อยละ 15.1) นักเรียน/นักศึกษา (ร้อยละ 15.1) สาเหตุกระตุ้นส่วนใหญ่มาจากอาการน้อยใจคนใกล้ชิดดุด่าว่ากล่าว (ร้อยละ 27.9)ทะเลาะกับคนใกล้ชิด (ร้อยละ 20.9) และผิดหวังในความรักและหึงหวง (ร้อยละ 17.6) และ วิธีการที่ใช้ในการฆ่าตัวตายหรือทำร้ายตนเองส่วนใหญ่ คือ การกินยาเกินขนาด (ร้อยละ 36.6 ) การกินยาฆ่าแมลง (ร้อยละ 22.8) การกินยากำจัดวัชพืช (ร้อยละ 18.1) และส่วนใหญ่เป็นการกระทำครั้งแรกมากถึง (ร้อยละ 87.3). จากสภาพปัญหาดังกล่าว สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุทัยธานี จึงได้มีการวางแผนการดำเนินการงานอย่างต่อเนื่อง โดยเน้นการบูรณาการงานสุขภาพจิต และแนวทางสำคัญในด้านพัฒนา.

Keywords: ฆ่าตัวตาย, สุขภาพจิต, การฆ่าตัวตาย, โรคทางจิตเวช, โรคซึมเศร้า, โรควิตกกังวล

ปีที่เผยแพร่/Year: 2551

Address: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดอุทัยธานี.

Code: 200800278

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ไทย

Category: บทคัดย่อ

Download: