ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: กรรณิการ์ น่วมอินทร์

ชื่อเรื่อง/Title: ผลการบำบัดรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะซึมเศร้าและพยายามฆ่าตัวตายภายใต้ โปรแกรมการเติมเต็มพลังชีวิตให้ตนเอง.

แหล่งที่มา/Source: การประชุมวิชาการ การป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตาย ครั้งที่ 8 เรื่อง "เสริมสร้างชีวิต ฝ่าวิกฤตโลกร้อน" วันที่ 7-8 กรกฎาคม 2551 ณ. โรงแรมลิตเติ้ลดั๊ก จังหวัดเชียงใหม่, หน้า 134.

รายละเอียด / Details:

อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร เป็นพื้นที่หนึ่งที่ไม่สามารถลดอัตราการพยายามฆ่าตัวตาย และการฆ่าตัวตายสำเร็จ จากข้อมูลในปี 2548-2550 พบว่ามีการพยายามฆ่าตัวตายคิดเป็นอัตราเท่ากับ 25.43, 66.83 และ 97.58 ประชากรต่อแสนตามลำดับ สำหรับการฆ่าตัวตายสำเร็จมีอัตรา เท่ากับ 13.38, 8.02 และ 20.05 ประชากรต่อแสนตามลำดับ (สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดกำแพงเพชร กระทรวงสาธารณสุข, 2550) ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ชี้วัดของระดับประเทศ คือ อัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จไม่เกิน 6.8 ประชากรต่อแสน โดยเฉพาะในปี 2550 พบว่า อัตราการพยายามฆ่าตัวตายและการฆ่าตัวตายสำเร็จ เป็นลำดับที่ 1 ของจังหวัดกำแพงเพชร สาเหตุส่วนใหญ่ คือ ปัญหาจิตใจ ปัญหาสุขภาพจิต ปัญหาพฤติกรรมส่วนบุคคล คิดเป็นร้อยละ 91.2, 35.1, 21.1 ตามลำดับ (กรรณิการ์ น่วมอินทร์, 2550). สำหรับพื้นที่ในเขตรับผิดชอบ โรงพยาบาลคลองขลุง ได้แก่ ตำบลคลองขลุง จำนวน 9 หมู่บ้าน จากข้อมูลในปี 2549-2551 (ช่วง ต.ค. 50- มิ.ย. 51) พบว่ามีการพยายามฆ่าตัวตายคิดเป็นอัตราเท่ากับ 97.2, 64.8 และ 32.40 ประชากรต่อแสนตามลำดับ สำหรับการฆ่าตัวตายสำเร็จมีอัตราเท่ากับ 21.6, 10.8 และ 0 ประชากรต่อแสนตามลำดับ (คลินิกจิตเวช โรงพยาบาลคลองขลุง, 2550) ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ชี้วัดของระดับประเทศ คือ อัตราการฆ่าตัวตายสำเร็จไม่เกิน 6.3 ประชากรต่อแสน จากการวิเคราะห์ระบบการให้บริการสุขภาพจิตและจิตเวชของโรงพยาบาลคลองขลุง พบว่า นอกจากการพัฒนาและปรับปรุงระบบการให้บริการที่เป็นการบูรณาการงานสุขภาพจิตและจิตเวช ในโรงพยาบาลเครือข่ายและชุมชนให้ครอบคลุมในด้านการส่งเสริม/ป้องกันด้านการบำบัด/รักษาและด้านการฟื้นฟูสมรรถภาพ ตามมาตรฐานงานสุขภาพจิตและจิตเวชในระบบบริการสาธารณสุข. จากการทบทวนและวิเคราะห์ระบบการให้บริการบำบัดรักษาพบว่าสิ่งที่ยังเป็นปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญในคลินิกจิตเวช ได้แก่ ขั้นตอนการบำบัดรักษาในกลุ่มผู้ป่วยที่มีภาวะซึมเศร้าและพยายามฆ่าตัวตายนั้นมีความซับซ้อนและใช้ระยะเวลาในการบำบัดและติดตามอย่างน้อย 1 ปี ทำให้ผู้ป่วยซึ่งมีความไม่พร้อมทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ ไม่สามารถมาตามนัดที่กำหนดได้ จึงส่งผลให้ การบำบัดรักษาไม่ต่อเนื่องและล้มเหลวซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้อำเภอคลองขลุงมีอัตราผู้ป่วยพยายามฆ่าตัวตายสำเร็จสูงที่สุดในจังหวัดกำแพงเพชรและสูงกว่าเกณฑ์ชี้วัดของระดับประเทศ. ดังนั้นพยาบาลผู้รับผิดชอบประจำในคลินิกจิตเวชซึ่งปฏิบัติงานเพียงคนเดียวจึงพยายามศึกษาและค้นหาแนวทางในการบำบัดรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะซึมเศร้าและพยายามฆ่าตัวตายให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุดและลดขั้นตอน ระยะเวลาในการบำบัดรักษาที่ยังคงอยู่ภายใต้องค์ความรู้ สื่อและเทคโนโลยีของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข โดยการประยุกต์ บูรณาการและผสมผสานของรูปแบบการบวนการ กิจกรรม ให้สอดคล้องกับบริบทของผู้ป่วยที่มีภาวะซึมเศร้า และพยายามฆ่าตัวตายใน อำเภอคลองขลุง ซึ่งทำการทดลอง ปรับปรุงและพัฒนาจนเกิดเป็นนวตกรรมในการบำบัดรักษาผู้ป่วยที่มีภาวะซึมเศร้าและพยายามฆ่าตัวตายที่เรียกว่า “โปรแกรมการเติมพลังชีวิตให้ตนเอง”. วัตถุประสงค์หลัก 1. เพื่อช่วยลดระดับภาวะซึมเศร้า 2. เพื่อลดอัตราการพยายามฆ่าตัวตายซ้ำ วัตถุปะสงค์เฉพาะ 1. เพื่อลดขั้นตอนบำบัดรักษาในกลุ่มผู้ป่วยที่มีภาวะซึมเศร้าและพยายามฆ่าตัวตาย 2.เพื่อสร้างแรงความเข้มแข็งทางจิตใจ ให้กลุ่มผู้ป่วยที่มีภาวะซึมเศร้าและพยายามฆ่าตัวตายเข้ารับการบำบัดรักษาอย่างมีประสิทธิภาพและต่อเนื่อง. กลุ่มป้าหมาย ผู้ป่วยที่มารับบริการในคลินิกจิตเวช จำนวน 20 คน ประกอบด้วย ผู้ป่วยที่มีภาวะซึมเศร้า จำนวน 10 คน ผู้ป่วยพยายามฆ่าตัวตาย จำนวน 10 คน.

Keywords: สุขภาพจิต, จิตเวช, การฟื้นฟู, พฤติกรรม, ภาวะซึมเศร้า, การบำบัด, พลังชีวิต

ปีที่เผยแพร่/Year: 2551

Address: คลินิกจิตเวช กลุ่มการพยาบาล โรงพยาบาลคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร.

Code: 200800282

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ไทย

Category: บทคัดย่อ

Download: