ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: ฉัตรมงคล ฉ่ำมาก

ชื่อเรื่อง/Title: การศึกษาพฤติกรรมการปรับตัวของผู้ป่วยพัฒนาการช้ารอบด้าน (Pervasive Developmental Disorder : PDDs ) โดยแบบประเมินพฤติกรรมการปรับตัว Vineland Adaptive Behavior Scales (VABS).

แหล่งที่มา/Source: ร่วมมือ ร่วมพลัง : มุ่งหวังสู่สุขภาพจิตดี ในปี 2563 การประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ ครั้งที่ 7 ประจำปี 2551กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. หน้า 105.

รายละเอียด / Details:

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงบรรยายเพื่อที่จะศึกษาลักษณะพฤติกรรมการปรับตัวของผู้ป่วย PDDs อายุไม่เกิน 3 ปี ใน communication domain, daily living skill domain, socialization domain, motor skills domain และ Adaptive behavior composite รวมทั้งหาความสัมพันธ์ระหว่างด้านดังกล่าว กลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาทั้งแบบผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในของโรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมภ์จำนวน 209 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลคือแบบประเมินพฤติกรรมการปรับตัว Vineland Adaptive Behavior Scales (VABS) ฉบับ Survey Form เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเด็ก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์คือ การเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยและ Pearson Product Moment Correlation Coefficient (r). ผลการศึกษาพบว่าคะแนนพฤติกรรมการปรับตัวใน Domain ต่างๆ พบว่า Motor Skills Domain คะแนนเฉลี่ยสูงที่สุดเท่ากับ 76.97 รองลงมาคือ Daily Living Skills, Socialization Adaptive Behavior Composite และ โดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 74.12, 67.82 และ 66.07 ตามลำดับ ส่วน Communication มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุดเท่ากับ 65.32 ส่วนพฤติกรรมปรับตัวในแต่ละ Domain พบว่ามีความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับสูงและปานกลาง สรุปได้ดังนี้ Domain ที่มีความสัมพันธ์กันสูงได้แก่ Communication กับ Daily Living Skills Daily Living Skills กับ Motor Skills และ Communication กับ Socialization เท่ากับ .793, .720 และ .718 ตามลำดับ คู่ที่มีความสัมพันธ์กันในระดับปานกลางได้แก่ Daily Living Skills กับ Socialization Socialization กับ Motor Skills และ Communication กับ Motor Skills เท่ากับ .673, .673 และ .573 ตามลำดับ. จากการศึกษาในครั้งนี้มีข้อเสนอแนะว่าแบบประเมินพฤติกรรมการปรับตัว Vineland Adaptive Behavior Scale (VABS) สามารถที่จะแสดงให้เห็นความแตกต่างของแต่ละด้านของพฤติกรรมปรับตัวได้ชัดเจนและมีความเหมาะสมที่จะใช้ร่วมกับเครื่องมืออื่นเพื่อนำข้อมูลมาใช้วางแผนในการดูแลรักษาผู้ป่วยต่อไป แต่อย่างไรก็ตามกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้มีจำนวนน้อยจึงควรทำการศึกษาในกลุ่มตัวอย่างจำนวนมากกว่านี้และควรศึกษาเพิ่มเติมในกลุ่มอาการอื่น เช่น Down Syndrome, Cerebral Palsy, Severe Mental Retardation.

Keywords: พฤติกรรมการปรับตัวของผู้ป่วยพัฒนาการช้ารอบด้าน, แบบประเมินพฤติกรรมการปรับตัว

ปีที่เผยแพร่/Year: 2551

Address: โรงพยาบาลยุวประสารทไวทโยปถัมภ์

Code: 2010000125

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ไทย

Category: บทคัดย่อ

Download: