ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: อรวรรณ ศิลปะกิจ

ชื่อเรื่อง/Title: แบบวัดความเครียดฉบับศรีธัญญา.

แหล่งที่มา/Source: วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย, ปีที่ 16, ฉบับที่ 3, 2551, หน้า 177.

รายละเอียด / Details:

วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาแบบวัดความเครียดฉบับย่อ. วัสดุวิธีการ แบ่งเป็น 2 ขั้นตอน ขั้นตอนแรกเป็นการพัฒนาข้อคำถามเบื้องต้น โดยนักวิชาการจำนวน 42 คนที่เข้ารับการอบรมการบรรณาธิการวารสารของกรมสุขภาพจิตระหว่างวันที่ 7-9 กรกฎาคม 2551 ทำแบบทดสอบความเครียดสวนปรุงฉบับ 20 ข้อ (SST-20) เพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้นแบ่งนักวิชาการเป็น 4 กลุ่ม กลุ่มละ 6-10 คน ให้ระดมสมองเพื่อพัฒนาข้อคำถามและคัดเลือกข้อคำถามที่มีความเห็นตรงกันมากที่สุดจำนวน 10 ข้อ และกำหนดช่วงของการประเมินค่าและช่วงเวลาในการประเมิน 4 สัปดาห์ ต่อจากนั้นให้ทุกคนตอบแบบทดสอบที่พัฒนาขึ้น วิเคราะห์ความสอดคล้องภายใน และศึกษาความสัมพันธ์กับ SST-20 ด้วยค่า Pearson’s correlation ขั้นตอนที่ 2 ทดสอบแบบวัดความเครียดที่พัฒนาขึ้นในบุคลากรโรงพยาบาลศรีธัญญา ที่ปฏิบัติงานในหอผู้ป่วยจำนวน 110 คน เพื่อคัดเลือกคำถาม 5 ข้อที่มีความสอดคล้องภายในสูงสุด และศึกษาความตรงตามเกณฑ์ด้วยแบบสอบถาม Hospital-depression (HAD-scale) และการประเมินตนเองในด้านงานเพื่อนร่วมงาน หัวหน้างาน ครอบครัว สุขภาพ และโดยทั่วไป. ผล แบบวัดความเครียดที่พัฒนาขึ้นมีจำนวน 5 คำถาม (ST-5) คือ มีปัญหาการนอน มีสมาธิน้อยลง หงุดหงิด/กระวนกระวายใจ-ว้าวุ่นใจ รู้สึกเบื่อ/เซ้ง และไม่อยากพบปะผู้คน มีความสอดคล้องภายในสูง และความตรงเมื่อเปรียบเทียบกับ HAD-scale และการประเมินตนเองความเครียดโดยทั่วไป. สรุป แบบวัด ST-5 มีความตรง ซึ่งผู้วิจัยเสนอเกณฑ์ในเบื้องต้นคือคะแนน ‹4 ไม่มีปัญหา 5-6 คะแนนน่าจะมีปัญหาและ 7 คะแนนขึ้นไปมีปัญหาหรือป่วย ซึ่งควรศึกษาจุดตัดของคะแนนที่เหมาะสมของแบบวัด ST-5 ในชุมชน.

Keywords: ความเครียด, ความตรง

ปีที่เผยแพร่/Year: 2551

Address: Srithanya Hospital

Code: 2010000134

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ไทย

Category: บทคัดย่อ

Download: