ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: สมเกียรติ ขำนุรักษ์

ชื่อเรื่อง/Title: การพัฒนารูปแบบเฝ้าระวังผู้ที่เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายโดยชุมชนมีส่วนร่วม จังหวัดนครสวรรค์.

แหล่งที่มา/Source: รวมผลงานวิชาการดีเด่น กระทรวงสาธารณสุข ประจำปี 2550. หน้า 85.

รายละเอียด / Details:

การฆ่าตัวตายเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของจังหวัดนครสวรรค์ เริ่มต้นจากภาวะเครียดจนกลายเป็นภาวะซึมเศร้า จะฆ่าตัวตายถ้าขาดความช่วยเหลือ การเฝ้าระวังผู้ที่เสี่ยงต่อการห่าตัวตายจึงเป็นกิจกรรมที่สำคัญ เพื่อป้องกันแก้ไข และช่วยเหลือผู้ที่ซึมเศร้าและเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย จังหวัดนครสวรรค์ได้ดำเนินกิจกรรมดังกล่าวมาตั้งแต่พ.ศ. 2544 แต่ได้ผลอย่างจำกัด จึงศึกษาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบเฝ้าระวังผู้ที่เสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายโดยชุมชนมีส่วนร่วมในการเฝ้าระวัง ระยะเวลาที่ทำการศึกษาตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2549- กุมภาพันธ์ 2550 แบ่งการดำเนินการเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 วิเคราะห์และพัฒนาเครื่องมือสำหรับการเฝ้าระวังด้วยนวัตกรรมและกระบวนการจัดการความรู้ เพื่อกระตุ้นดำเนินกิจกรรมเฝ้าระวังให้เข็มแงในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตาย 5 อำเภอ ได้แก่ เก้าเลี้ยว ตากฟ้า ตาคลี ฏกรกพระ และไพสาลี ระยะที่ 2 นำเครื่องมือที่พัฒนาได้ไปดำเนินการเฝ้าระวังในพื้นที่ที่มีอัตราการฆ่าตัวตายสูงถึง 15 ตำบล ทั้ง 5 อำเภอ ด้วยการเสริมสร้างศักยภาพและพลังความสามารถของแกนนำชุมชน ได้แก่ อาสาสมัครสาธารณสุข ผู้บริหารและสมาชิกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและแกนนำด้านสุขภาพเพื่อกระตุ้นให้เกิดความร่วมมือในการดำเนินการเฝ้าระวัง รวมทั้งมีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประเมิน ผลลัพธ์ คือการมีส่วนร่วมของแกนนำชุมชน และประเมินผลกระทบ ได้แก่ ผลการเฝ้าระวัง และอัตราการฆ่าตัวตายที่ลดลง เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมาด้วยศักยภาพและความร่วมมือของแกนนำชุมชน สามารถดำเนินการเฝ้าระวังโดยใช้เครื่องมือที่พัฒนาขึ้น สามารถคัดกรอง ประเมิน และติดตามให้การดูแล ช่วยเหลือกลุ่มเสี่ยงได้ดีเกินคาด โดยไม่มีการฆ่าตัวตายในประชากรกลุ่มที่ได้รับการเฝ้าระวัง ซึ่งผลให้อัตราการฆ่าตัวตายในพื้นที่ดำเนินการเฝ้าระวังลดลงเมื่อพิจารณาเปรียบเทียบกับปีที่ผ่านมา. ปัจจัยที่สำคัญในการพัฒนารูปแบบการเฝ้าระวังการฆ่าตัวตายคือ การสนับสนุนในลักษณะความร่วมมือของภาคีเครือข่ายที่เข็มแข็ง โดยอาศัยองค์ความรู้ และการดำเนินการที่มีประสิทธิผลและประสิทธิภาพนั้น จะเป็นเครื่องมือให้ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเห็นความสำคัญของปัญหาการฆ่าตัวตาย แล้วบรรจุเป็นโครงการในแผนท้องถิ่นและมีการจัดสรรงบประมาณให้พื้นที่ดำเนินการอย่างต่อเนื่องต่อไป.

Keywords: รูปแบบ, เฝ้าระวัง, การฆ่าตัวตาย,ชุมชนมีส่วนร่วม

ปีที่เผยแพร่/Year: 2550

Address: สำนักงานสาธาธารณสุขนครสวรรค์

Code: 2010000153

ISSN/ISBN: 978-976-06-8565-4

Country of publication: ไทย

Language: ไทย

Category: บทคัดย่อ

Download: