ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: ไพลิน นัดสันเทียะ

ชื่อเรื่อง/Title: การใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ในการพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ป่วย : กรณีศึกษาการดูแลผู้ป่วยเด็กที่มีเสมหะอุดกั้นทางเดินหายใจ.

แหล่งที่มา/Source: รวมผลงานวิชาการดีเด่น กระทรวงสาธารณสุข ประจำปี 2550. หน้า 163.

รายละเอียด / Details:

ผู้ป่วยเด็กที่มีพยาธิสภาพที่ปอดรุนแรงหรือเรื้อรังพบว่ามีน้ำมูกและเสมหะมากจนคั่งค้างหรืออุกกลั้นทางเดินหายใจ ส่งผลกระทบต่อตัวผู้ป่วยเด็กทำให้ไม่สุขสบายและเกิดภาวะเจ็บป่วยซ้ำซ้อน เช่น อุบัติการณ์กลับใส่ท่อช่วยหายใจซ้ำหลังถอดท่อช่วยหายใจการหย่าออกซิเจนได้ยาก การนอนโรงพยาบาลนาน เป็นต้น และผลกระทบต่อครอบครัวบิดามีความวิตกกังวล การดูแลผู้ป่วยเหล่านี้มีความยุ่งยากซับซ้อนการดูและรักษาตามแนวทางเดิมไม่สามารถแก้ปัญหาผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อนำนวัตกรรมมาใช้ในการดูแลผู้ป่วยเด็กที่มีเสมหะคั่งค้าง วิธีการศึกษาดำเนินตามขั้นตอนการปฏิบัติการพยาบาลโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ 4 ขั้นตอนได้แก่ 1) การประเมินสถานการณ์ทางคลินิกและกำหนดปัญหา 2) การแสวงหาหลักฐานการปฏิบัติที่ดี พัฒนาแนวทางการปฏิบัติ กำหนดผลลัพธ์ 3) นำนวัตกรรมและแนวทางปฏิบัติไปทดลองใช้ และ 4) ประเมินผลและวิเคราะห์ผลลัพธ์ โดยการประชุมปรึกษาทีมดูแลรักษาผู้ป่วยกุมารเวชกรรม การสืบค้นข้อมูลละปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเรียนรู้การดูแลผู้ป่วยแบบ bed side learning และร่วมดูแลผู้ป่วยด้วยการปรึกษาทางโทรศัพท์ เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 10 ราย จากผู้ป่วยเด็กอายุ 1 เดือน - 12 เดือน ที่มีเสมหะอุดกลั้นทางเดินหายใจ ไม่สามารถขับเสมหะและน้ำมูกได้เอง ซึ่งเข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยกุมารเวชกรรม ระหว่างเดือน มีนาคม 2550 – กรกฎาคม 2550 เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบประเมินอาการทางคลินิกระบบหายใจ แบบสังเกตพฤติกรรมเด็ก แนวคำถามแระเมินความพึงพอใจเจ้าหน้าที่และผู้รับบริการ ร่างแนวทางปฏิบัติการระบายเสมหะและช่วยให้ปอดขยายตัวด้วย EzPAP และระบายน้ำมูกด้วย MU-TIP และเครื่องดูดเสมหะ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณา และวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการศึกษาพบว่าการสืบค้นหลักฐานเชิงประจักษ์และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดูแลผู้ป่วยร่วมกับผู้เชี่ยวชาญ ทำให้มีวิธีปฏิบัติใหม่เป็นนวัตกรรมช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการระบายน้ำมูกและเสมหะเกิดผลลัพธ์ต่อผู้ป่วยเด็ก ได้แก่ ผู้ป่วยสุขสบายขึ้น ไม่พบอัตราการใส่ท่อช่วยหายใจซ้ำ ไม่พบการกลับเข้ารักษาใน NICU ซ้ำ จำนวนวันนอนลดลง และไม่พบการกลับเข้ารับการรักษาในโรงพยาลบาลซ้ำ ทีมผู้ดูแลรักษาและผู้ปกครองมีความพึงพอใจ การนำหลักฐานเชิงประจักษ์มาใช้ เพื่อปรับเปลี่ยนการดูแลผู้ป่วยเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพ และคุณค่าการดูแลรักษาอย่างน่าเชื่อถือและสร้างความปลอดภัยให้แก่ผู้ป่วย ซึ่งควรมีการกำหนดเป็นนโยบายเพื่อขยายผล ในการพัฒนาคุณภาพการดูแลผู้ป่วยกลุ่มอื่นๆ ต่อไป.

Keywords: การใช้หลักฐานเชิงประจักษ์, แนวทางปฏิบัติการพยาบาล, การระบายเสมหะ

ปีที่เผยแพร่/Year: 2550

Address: โรงพยาบาลสกลนคร

Code: 2010000157

ISSN/ISBN: 978-976-06-8565-4[m8yfpjv

Country of publication: ไทย

Language: ไทย

Category: บทคัดย่อ

Download: