ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: ชุติมา อัตถากรโกวิท

ชื่อเรื่อง/Title: ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของเด็กวัยเรียนชั้นประถมศึกษาที่มีภาวะน้ำหนักเกินฯ.

แหล่งที่มา/Source: วารสารพยาบาลศาสตร์. ปีที่ 25, ฉบับที่ 2, พ.ค.-ส.ค. 2550, หน้า 60-61.

รายละเอียด / Details:

การศึกษาประสิทธิภาพและประสิทธิผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของเด็กวัยเรียนชั้นประถมศึกษาที่มีภาวะน้ำหนักเกิน เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์ คือ ศึกษาประสิทธิภาพของโปรแกรมฯ โดยเปรียบเทียบอัตราการควบคุมน้ำหนักของเด็กนักเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกินในกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองภายหลังเข้าร่วมโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ และศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมโดยเปรียบเทียบความแตกต่างของดัชนีชี้วัดภาวะโภชนาการก่อนและหลังเข้าโปรแกรมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของเด็กที่มีภาวะโภชนาการเกินในกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง ประชากรที่ศึกษาเป็นโรงเรียนในเขตบางกอกน้อย 17 โรงเรียน ทำการสุ่มแบบ simple random sampling เข้ากลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นกลุ่มควบคุม 2 โรงเรียน และกลุ่มทดลอง 1 โรงเรียน แล้วจึงดำเนินการประเมินภาวะโภชนาการเด็ก ป.3 – ป.6 ในกลุ่มตัวอย่าง (กลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง) คัดเลือกเด็กที่มีน้ำหนักเกิน และผู้ปกครองยินยอม สุ่มแบบ simple random sampling เข้ากลุ่มทดลอง 51 คน และกลุ่มควบคุม 51 คน ในกลุ่มทดลองดำเนินการเข้าโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ดังนี้ 1) ประเมินภาวะโภชนาการและปัจจัยเสี่ยงต่อภาวะโภชนาการเกินเมื่อเริ่มโครงการ 2) จัดกิจกรรมเพิ่มความรู้และทักษะในการปฏิบัติตนเพื่อควบคุมน้ำหนัก 2 วัน 3) ให้คำปรึกษาการปฏิบัติการบริโภคและออกกำลังกาย / การทำกิจกรรมประจำวัน ระยะเวลา 6 เดือน เดือนที่ 1,2 ทำสัปดาห์ละครั้ง เดือนที่ 3 3 ครั้ง เดือนที่ 4 2 ครั้ง และเดือนที่ 5,6 เดือนละครั้ง 4) ประเมินภาวะโภชนาการเมื่อสิ้นสุดโครงการ สำหรับกลุ่มควบคุมดำเนินการคือประเมินภาวะโภชนาการเมื่อเริ่มโครงการ และ 6 เดือนต่อมาเมื่อปิดโครงการ ผลการศึกษาประสิทธิภาพของโปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพโดยการเปรียบเทียบอัตราการควบคุมน้ำหนักของเด็กนักเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกินในกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง พบว่า โปรแกรมมีประสิทธิภาพ = 15.37 % กล่าวคือ เด็กอ้วน 100 คน ที่เข้าโปรแกรมนี้สามารถควบคุมน้ำหนักได้ 15 คน ผลการศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมปรับเปลี่ยนสุขภาพของเด็กน้ำหนักเกินเกณฑ์ โดยเปรียบเทียบผลของ Anthropometric assessment ในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมพบว่า ค่าของการเปลี่ยนแปลงของBMI (Body Mass index), TWA (Thai weight for age), THA (Thai Height for age), เส้นรอบอกและเส้นรอบตะโพก (ซม.), ค่าไขมันใต้ผิวหนัง (Sub Coetaneous fat) ได้แก่ Mac (Mid Arm Circumference) TS (Triceps skin fold) BS (Biceps skin fold) แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P ‹ .05, < .001, < .001, <.001, <.05, <.01, <.05) ตามลำดับ.

Keywords: ประสิทธิภาพ, ประสิทธิผล, โปรแกรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ

ปีที่เผยแพร่/Year: 2551

Address: รองศาสตราจารย์ ภาควิชาการพยาบาลสาธารณสุขศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ ม.มหิดล

Code: 2010000209

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ไทย

Category: บทคัดย่อ

Download: