ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: วรัฏฐา เจริญและคณะ

ชื่อเรื่อง/Title: การศึกษาความต้องการของโรงเรียนเครือข่ายในการรับเด็กพิเศษเข้าเรียนร่วมในโรงเรียนเครือข่ายของโรงพยาบาลยุวประสารท ไทโยปถัมภ์. หน้า 103.

แหล่งที่มา/Source: ร่วมมือ ร่วมพลัง : มุ่งหวังสู่สุขภาพจิตดี ในปี 2563 การประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ ครั้วที่ 7 ประจำปี 2551 กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข

รายละเอียด / Details:

จากการเก็บสถิติผู้ป่วยของนักสังคมสงเคราะห์พบว่าผู้ป่วยส่วนหนึ่งเมื่อผ่านการบำบัดรักษาแล้วเข้าสู่ระบบการศึกษาแต่โรงเรียนต้องส่งกลับมาเพราะมีปัญหาพฤติกรรม ไม่สามารถเรียนกับเพื่อนได้ บางโรงเรียนปฏิเสธไม่รับเด็กเข้าเรียน ทำให้เด็กพิเศษขาดโอกาสที่จะได้รับการพัฒนาศักยภาพของตนเองและส่งผลกระทบให้เกิดความเครียดขึ้นในครอบครัว ด้วยเหตุนี้นักสังคมสงเคราะห์จึงปรับการบริการจากการตั้งรับเป็นให้บริการเชิงรุกมุ่งค้นหาปัจจัยที่มีผลต่อการรับเด็กพิเศษเข้าเรียนเพื่อนำมาเป็นแนวทางในการเตรียมเด็กพิเศษให้ตรงกับความต้องการของโรงเรียนและเตรียมโรงเรียนให้มีการจัดการศึกษาให้สอดคล้องและเหมาะสมกับเด็กพิเศษแต่ละบุคคล. การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการรับเด็กพิเศษเข้าเรียนร่วมโรงเรียนเครือข่ายของ โรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมภ์ ศึกษาในโรงเรียน เครือข่าย จำนวน 16 โรงเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักเขตพื้นที่การศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 และเขต 2 ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึก (indepth interview) รวบรวมข้อมูลโดยการจดบันทึกและการและการอัดเทปควบคู่กันไป โดยเก็บข้อมูลจากผู้บริหาร โรงเรียนจำนวน 16 ราย รวบรวมข้อมูลระหว่างเดือนมีนาคม - มิถุนายน 2550 ใช้การวิเคราะห์ข้อมูลแบบอุปนัย (analytic induction) โดยการตีความ การวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) เชื่อมโยงกับแนวคิดทฤษฏี. ผลการศึกษาพบว่าโรงเรียนต้องการให้ช่วยอบรมความรู้แก่ผู้ปกครองและตรวจวินิจฉัยเด็กกลุ่มเสี่ยง ช่วยปรับทัศนคติของบุคลากรในโรงเรียน เพิ่มความรู้ความเข้าใจในอาการของเด็ก ต้องการใบรับรองแพทย์และผลตรวจ I.Q. การอบรมเพื่อช่วยเพื่อน (buddy) และความรู้ด้านอื่นๆ เช่นความรู้เรื่องการรับประทานยาเป็นต้น ส่วนความคิดเห็นและความต้องการของผู้บริหาร พบว่า ต้องการให้อบรมความรู้ครูและปรับทัศนคติเป็นประจำทุกปีให้ความรู้ผู้ปกครองในวันปฐมนิเทศและมีระบบการส่งต่อดูแลเด็กที่ชัดเจนโดยที่โรงเรียนสามารถส่งเด็กมารับบริการได้โดยตรง ข้อเสนอแนะจากการศึกษา จากความคิดเห็น ความต้องการและข้อเสนอแนะของโรงเรียน นักสังคมสงเคราะห์ได้นำเข้าที่ประชุมทีมสหวิชาชีพโรงพยาบาลยุวประสารทฯนำมาสู่การปรับปรุงกระบวนการบำบัดรักษาดูแลผู้ป่วย ระบบการส่งต่อจัดเตรียมทีมสุขภาพจิตโรงเรียนเพื่อตอบสนองความต้องการดังกล่าวและเตรียมจัดทำหลักสูตรการดูแลผู้ป่วยสำหรับโรงเรียนเพื่อช่วยให้โรงเรียนต่างๆ สามารถดูแลเด็กได้ดียิ่งขึ้น.

Keywords: เด็กพิเศษ, การบำบัดรักษา

ปีที่เผยแพร่/Year: 2551

Address: โรงพยาบาลประสาทไวทโยปถัมภ์

Code: 2010000258

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ไทย

Language: ไทย

Category: บทคัดย่อ

Download: