ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: ชลทิพย์ กรัยวิเชียร และ รินสุข องอาจสกุลมั่น

ชื่อเรื่อง/Title: อาการและอาการแสดงออกตามเกณฑ์การวินิจฉัย DSM-IV ในผู้ป่วยออทิซึม แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลยุวประสารทไวทโยปถัมภ์.

แหล่งที่มา/Source: ร่วมมือ ร่วมพลัง : มุ่งหวังสู่สุขภาพจิตดี ในปี 2563 การประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ ครั้งที่ 7 ประจำปี 2551 กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. หน้า 100.

รายละเอียด / Details:

การวินิจฉัยโรคออทิซึมยังมีปัญหาโดยเฉพาะในกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการเพียงเล็กน้อยไม่ครบเกณฑ์ การวินิจฉัย ขณะที่การวินิจฉัยได้เร็วตั้งแต่ผู้ป่วยที่อายุยังน้อยเพื่อวางแผนช่วยเหลือ จะให้ผลการรักษาที่ดีกว่าการศึกษาครั้งนี้จึงศึกษาเกี่ยวกับอาการและอาการแสดงของโรคออทิซึมตามเกณฑ์การวินิ๗ฉัยของ DSM-IV ในผู้ป่วยที่ได้รัยการวินิจฉัยว่าเป็นโรคออทิซึมของโรงพยาบาลยุวประไวทโยปถัมภ์ โดยศึกษาในผู้ป่วยนอกใหม่ที่เป็นออทิซึมจำนวน 162 คน โดยจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นซึ่งเป็นผู้วินิจฉัยตอบแบบสอบถาม ข้อมูลทั่วไป อาการและอาการแสดงตามเกณฑ์การวินิจฉัยของ DSM-IV พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีอายุระหว่าง 1 ปี 3 เดือน 11 ปี ส่วนใหญ่อายุ 2-3 ปี อัตราส่วนเพศชาย :เพศหญิง เท่ากับ 4.06 : 1 อาการนำที่พามาโรงพยาบาลมากที่สุด 3 อันดับแรก คือ ไม่พูด ชน และไม่สบตา (ร้อยละ 96.9 , 51.9 และ 49.4 ตามลำดับ) อาการและอาการแสดงตามเกณฑ์การวินิจฉัย DSM-IV ที่พบมากที่สุดคือ มีความบกพร่องอย่างชัดเจนในการใช้ท่าทาง เช่น การสบตา การแสดงสีหน้า กิริยาท่าทางในการเข้าสังคม คิดเป็นร้อยละ 90.1 (พบทุกรายในกลุ่มอายุต่ำกว่า 2 ปี ) รองลงมา คือใช้คำพูดซ้ำๆ หรือใช้ภาษาที่ไม่มีใครเข้าใจคิดเป็น ร้อยละ 87.7 รองลงมาคือพูดช้าหรือไม่พูดเลยโดยไม่มีแสดงออกว่าอยากสื่อสารด้วยวิธีอื่นๆและไม่มีการเล่นสมมุติที่หลากหลาย ร้อยละ 83.9 เท่ากัน สรุปจากเกณฑ์ การวินิจฉัย DSM-IV พบว่ากลุ่มตัวอย่าง มีข้อบกพร่องอย่างชัดเจนในการใช้ท่าทางเกือบทุกรายและพบทุกรายใน อายุก่อน 2 ปีซึ่งเป็นอาการแสดงคุณลักษณะทางสังคมที่ผิดปกติ ขณะที่ปัญหาการพูดมีรายงานมากขึ้นในช่วงหลังอายุ 1 ปี 6 เดือน และกิริยาซ้ำๆรายงานมากขึ้นในช่วงหลังอายุ 2 ปี ดังนั้นความบกพร่องด้านสังคมจึงน่าจะเป็นอาการที่สังเกตได้เร็วกว่ากว่าความผิดปกติด้านอื่นๆ ขณะที่อาการนำที่ผู้ปกครองพามรตรวจกลับพบว่าเป็นปัญหาการพูดมากกว่าปัญหาด้านสังคม จึงทำให้ผู้ป่วยส่วนใหญ่จึงมาพบแพทย์ในช่วงอายุ 2-3 ปี ซึ่งเป็นข่วงที่ผู้ปกครองเริ่มกังวลว่าลูกยังไม่พูด. จากผลการวิจัยพบว่าคุณลักษณะทางสังคมที่ผิดปกติเป็นอาการที่สังเกตเห็นได้ก่อนความผิดปกติด้านอื่นๆ ผู้วิจัยจึงวางแผนที่จะพัฒนาแบบประเมินพัฒนาการทางสังคมของเด็ก เพื่อใช้สังเกตและคัดกรองผู้ป่วยร่วมไปกับพัฒนาการด้านอื่นๆในคลินิกเด็กดี (Well bady clinical) ควบคู่ไปกับการสร้างความตระหนักและความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคออทิซึมกับผู้ปกครอง เพื่อให้เด็กที่มีความผิดปกติทางพัฒนาการและมีแนวโน้มจะ)ในเด็กออทิสติกมีโอกาสได้รับการวางแผนการบำบัดรักษาตั้งแต่อายุน้อย ซึ่งจะทำให้การพยากรณ์โรคดี.

Keywords: การวินิจฉัย dsm-iv,ผู้ป่วยออทิซึม, การวินิจฉัยโรคออทิซึม

ปีที่เผยแพร่/Year: 2551

Address: โรงพยาบาลยุวประสารทไวทโยปถัมภ์

Code: 2010000261

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ไทย

Language: ไทย

Category: บทคัดย่อ

Download: