ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: รินสุข องอาจสกุลมั่น

ชื่อเรื่อง/Title: การใช้ยา Methylphenidate รักษาโรคสมาธิสั้น ในโรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมภ์: ศึกษาผล ผลข้างเคียงและขนาดของยา.

แหล่งที่มา/Source: ร่วมมือ ร่วมพลัง : มุ่งหวังสู่สุขภาพจิตดี ในปี 2563 การประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ ครั้งที่ 7 ประจำปี 2551 กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. หน้า 96 .

รายละเอียด / Details:

ความสำคัญ: โรคสมาธิสั้น เป็นโรคทางจิตเวชที่พบตั้งแต่วัยเด็กแต่มีการดำเนินของโรคต่อเนื่องไปสู่วัยผู้ใหญ่ ส่งผลกระทบต่พฤติกรรม อารมณ์ การเรียนรู้ และ การเข้าสังคมกับผู้อื่น การรักษาที่ได้ผลดีคือการใช้ยาMethylphenidate ซึ่งเป็น CNS Stimulant เพื่อควบคุมอาการร่วมไปกับการปรับพฤติกรรม. วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาถึงผล ผลข้างเคียง และ ขนาดการรักษาของยา Methylphenidate ในผู้ป่วยสมาธิสั้น. วิธีการศึกษา: เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ช่วงเวลาหนึ่งในเด็ก อายุ 6 ถึง 12 ปี ที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ตามเกณฑ์การวินิจฉัย DSM-IV-TR สำหรับโรคสมาธิสั้นที่มารักษา ณ โรงพยาบาลยุวประสารทไวทโยปถัมภ์ในเดือน ธันวาคม 2548- พฤษภาคม 2549 โดยใช้แบบสอบถามซึ่งประกอบด้วย ข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วยและผู้ปกครอง ข้อมูลผลการศึกษาที่พัฒนามาจากเกณฑ์การวินิจฉัย DSM-IV-TR สำหรับโรคสมาธิสั้นและข้อมูลผลข้างเคียงของยา Methylphenidate. ผลของการศึกษา: พบว่าผู้ป่วย 297 รายเป็น เพศชาย 258 รายเพศหญิง 39 ราย อายุเฉลี่ย 9.05 ปี ร้อยละ 28.6 ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยโรคอื่นร่วมด้วย ผู้ป่วยร้อยละ 85.2 ได้ยา Methylphenidate เพียงชนิดเดียวโดยเป็น Immediate-release เฉลี่ย 252 ราย Extended -release 40 ราย และได้รับยาทั้ง 2 รูปแบบควบคู่กันไป 5 ราย ขนาดยา Immediate-release เฉลี่ย 17.32 mg/day หรือ 0.57 mg/kg/day ขนาด Extended -release เฉลี่ย 20.4 เท่า/กฟั sinv 0.65 mg/kg/day เมื่อพิจารณาผลการรักษา กลุ่มอาการบกพร่องด้านสมาธิดีขึ้นจากเดิมร้อยละ 39.3-75.7 กลุ่มอาการบกพร่องด้านพฤติกรรมดีขึ้นจากเดิมร้อยละ 46.8-65.2 กลุ่มอาการบกพร่องด้านการวางแผนดีขึ้นจากเดิมร้อยละ 42.3-67.1 แต่เมื่อสรุปผลการรักษาโดยรวมต่อความรับผิดชอบการเปลี่ยนแปลงผลการเรียน และความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นพบว่าดีขึ้นร้อยละ 65.7-77 สำหรับผลข้างเคียงของยาพบปัญหาอารมณ์แปรปรวนหงุดหงิดง่ายมากที่สุดร้อยละ 40.5 รองลงมาคือเบื่ออาหารร้อยละ 34 และปวดศีรษะร้อยละ 23.2 โดยผลข้างเคียงในรูปแบบ Immediate-release มากกว่า Extended -release สำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาเบื่ออาหารและน้ำหนักไม่เพิ่มตามอายุเมื่อพิจารณาตามกราฟการเจริญเติบโตพบว่ามีปัญหาร้อยละ 13. สรุปผลการศึกษา: ขาดยาเฉลี่ยต่อกิโลกรัมต่อวันทั้ง 2 รูป แบบมีขนาดไม่สูงเมื่อเทียบกับขนาดมาตรฐาน ผลการรักษาด้วยยาโดยรวมเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น พบผลข้างเคียงในรูปแบบ Immediate-release มากว่าExtended -release โดยปัญหาผลข้างเคียงอารมณ์แปรปรวนหงุดหงิดง่ายพบมากที่สุดแต่ต้องอาศัยการประเมินโดยละเอียดว่าเป็นผลจากยา หรือจากอาการของโรคที่แย่ลงส่วนผลข้างเคียงเบื่ออาหาร และปวดศีรษะพบรองลงมา ดังนั้นควรระมัดระวังการใช้ยาในผู้ป่วยที่มีปัญหาตามกราฟการเจริญเติบโต. ข้อเสนอแนะ: การใช้ยา Methylphenidate ควรเริ่มขนาดยาและการปรับยาที่ละน้อยเพื่อติดตามผลข้างเคียง และวางแผนในการให้คำแนะนำระหว่างการรักษา จะนำไปสู่ความร่วมมือของผู้ป่วยและผู้ปกครองในการปรับรับประทานยามากขึ้น.

Keywords: โรคสมาธิสั้น, การใช้ยา Methylphenidate, ผลข้างเคียงและขนาดของยา

ปีที่เผยแพร่/Year: 2551

Address: โรงพยาบาลยุวประสารทไวทโยปถัมภ์

Code: 2010000266

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ไทย

Language: ไทย

Category: บทคัดย่อ

Download: