ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: มัลลิฑา พูนสวัสดิ์

ชื่อเรื่อง/Title: โครงการพัฒนาหน่วยกลุ่มกิจกรรมบำบัด.

แหล่งที่มา/Source: ร่วมมือ ร่วมพลัง : มุ่งหวังสู่สุขภาพจิตดี ในปี 2563 การประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ ครั้งที่ 7 ประจำปี 2551 กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. หน้า 148 .

รายละเอียด / Details:

ความสำคัญ โครงการพัฒนาหน่วยกลุ่มกิจกรรมบำบัดมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ป่วย/ผู้รับบริการได้รับการบำบัดฟื้นฟูสมรรถภาพทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ ภายใต้สภาพแวดล้อมที่จัดไว้เพื่อการบำบัด (Milieu Therapy) ที่เหมาะสม ในลักษณะโครงสร้างของกลุ่มบำบัดที่สอดคล้องกับอาการ พยาธิสภาพของโรคที่เจ็บป่วยหรือสภาพปัญหาที่เป็นอยู่. วิธีการศึกษา แบ่งเป็น 4 ระยะคือ การวิเคราะห์สถานการณ์ การวางแผน การลงมือปฏิบัติ และประเมินผล ดำเนินการตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2551 ถึงเดือนกันยายน 2551. ผลการศึกษา จากากรวิเคราะห์สถานการณ์ พบว่า เดิมสถานที่กลุ่มบำบัดทั้งผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในจะอยู่ในหน่วยงาน/ตึกผู้ป่วยซึ่งมีลักษณะแตกต่างกัน บางหน่วยงานห้องกลุ่มไม่เป็นสัดส่วน คับแคบ อากาศถ่ายเทไม่สะดวก และมีเสียงรบกวนจากผู้ป่วยอื่น ลักษณะกลุ่มไม่มีชุดโปรแกรมชัดเจนและทำการบำบัดไม่ต่อเนื่องขาดการเชื่อมโยงเป็นแนวทางเดียวกัน ส่วนใหญ่องค์ความรู้จะใช้แนวคิดของเทคโนโลยีสุขภาพจิต ซึ่งไม่เป็นลักษณะเฉพาะ ในด้านการวางแผนได้จัดประชุมทีมสหวิชาชีพจำนวน 3 ครั้ง เพื่อวางแผนการทำกลุ่มบำบัดร่วมร่วมกันโดยกำหนดกลุ่มบำบัด โปรแกรมบำบัด ผู้ที่มีความเชี่ยวชาญในแต่ละกลุ่ม กำหนดสถานที่ ตารางวันเวลาและจำนวนครั้งแต่ละกลุ่ม ตกลงบทบาทหน้าที่และผู้รับผิดชอบของแต่ละวิชาชีพ มีการประสานงาน การจัดทำคู่มือในการคัดเลือกผู้ป่วย การบันทึกรายงาน และการประเมินผลของกลุ่ม การลงมือปฏิบัติ ได้จัดอบรมผู้ที่สนใจร่วมเป็นผู้นำกลุ่มบำบัด ตั้งแต่เดือนมกราคม-มิถุนายน 2551หลังการอบรมจะฝึกทักษะและสอนงานเพื่อร่วมเป็นชุมชนนักปฏิบัติ ในด้านการประเมินผล ได้เทคโนโลยี 10 กลุ่ม คือ เสริมสร้างแรงจูงใจในการรักษาด้วยยาของผู้ป่วยจิตเภท ปรับความคิดเพื่อชีวิตมีสุข (Cognitive Behavior Therapy) จิตบำบัดประคับประคอง REBT ร่วมกับดนตรีบำบัด ศิลปะบำบัด จัดการกับอาการหูแว่ว ฝึกทักษะทางสังคมและการสื่อสาร ความรู้เรื่องยา สุขภาพจิตศึกษาและ ธรรมะบำบัด และพบว่าปัจจุบันโครงสร้างสภาพแวดล้อมลักษณะของห้อง ขนาดเหมาะสม เป็นสัดส่วนมีความสะอาด สงบ ปราศจากเสียงรบกวน มีการจัดสวนหย่อมไว้อย่างสวยงาม ผู้เข้ามาใช้บริการจะรู้สึกผ่อนคลาย จากแบบสอบถามความพึงพอใจต่อการเข้ากลุ่มบำบัดพบในระดับมากที่สุดประเด็นได้รับประโยชน์จากการเข้ากลุ่ม บรรยากาศสิ่งแวดล้อม สงบ สะอาด เป็นสัดส่วน และการแสดงออกสีหน้าท่าทาง คำพูด และบริการร้อยละ 568043.20และ 43.20 ตามลำดับ ข้อเสนอแนะและสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้ ผู้เชี่ยวชาญในการทำกลุ่มบำบัดเฉพาะทางต้องพัฒนาทักษะอย่างสม่ำเสมอ และผู้ป่วยควรได้รับการฝึกทักษะต่างๆ ที่ได้จากกลุ่มในขณะอยู่ในตึกและเมื่อกลับไปอยู่ที่บ้านอย่างต่อเนื่องเช่นกัน.

Keywords: กลุ่มกิจกรรมบำบัด, ผู้ป่วยจิตเภท

ปีที่เผยแพร่/Year: 2551

Address: โรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่น

Code: 2010000271

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ไทย

Language: ไทย

Category: บทคัดย่อ

Download: