ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: ธรณินทร์ กองสุขและคณะ

ชื่อเรื่อง/Title: การประเมินผลการเฝ้าระวังโรคซึมเศร้าในประขาขนทั่วไปและกลุ่มเสี่ยง.

แหล่งที่มา/Source: ร่วมมือ ร่วมพลัง : มุ่งหวังสู่สุขภาพจิตดี ในปี 2563 การประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ ครั้งที่ 7 ประจำปี 2551 กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. หน้า 178 .

รายละเอียด / Details:

ความสำคัญ ผลการวิเคราะห์สถานการณ์ปัญหาโรคซึมเศร้าในพื้นที่นำร่องจังหวัดยโสธร ปี 2549 นำมาสู่แนวทางในการพัฒนาระบบการเฝ้าระวังโรคซึมเศร้าปี 2550 ที่มีการเฝ้าระวังป้องกันการเกิดโรคซึมเศร้าในประชาชนทั่วไปและกลุ่มเสี่ยง ผลการประเมินระบบเฝ้าระวังโรคซึมเศร้าจะเป็นแนวทางการขยายผลต่อไป. วัตถุประสงค์ เพื่อประเมินผลการเฝ้าระวังโรคซึมเศร้าสำหรับประชาชนและกลุ่มเสี่ยงในจังหวัดยโสธร. วิธีการศึกษา ใช้รูปแบบ Cross-sectional Study ระหว่างวันที่ 24 เม.ย. - 26 พ.ค.51 โดยมีประชาชนทั่วไปและกลุ่มเสี่ยงของโรคซึมเศร้าในจังหวัดยโสธร เป็นกลุ่มตัวอย่างที่เคยได้รับการคัดกรองโรคซึมเศร้าด้วย 2 คำถาม จำนวน 297,588 คนคำนวณ จากสูตรการสำรวจและสุ่มเลือกตามบทความน่าจะเป็นแบบ 2 ชั้นตอน จากทุกอำเภอ ตำบลและหมู่บ้านได้ตัวอย่างทั้งหมด1,124 คน ประเมินผลการเฝ้าระวังโรคซึมเศร้าที่ดำเนินการปี 2549-2550 ตามกรอบแนวความคิดของ CIPP Model ประกอบด้วยบริบท/ปัจจัยนำเข้า/กระบวนการ/ผลผลิต/ผลลัพธ์และผลกระทบจากระบบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่ร้อยละ และการวิเคราะห์เนื้อหา. ผลการศึกษา กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิงร้อยละ 77.6 ไม่มีโรคประจำตัว หลังจากมีการนำระบบดูแลเฝ้าระวังโรคซึมเศร้าในประชาชนทั่วไปและกลุ่มเสี่ยง พบว่า ด้านบริบท ส่วนใหญ่คิดว่าโรคซึมเศร้าเป็นปัญหามากที่สุด ร้อยละ 93.5 ปัญหาต่อครอบครัวมากถึงร้อยละ 76 และก่อให้เกิดความเดือดร้อนต่อคนอื่นร้อยละ 88.9 ปัจจัยนำเข้ายังคงต้องการให้มีการจัดกิจกรรมเกี่ยวกับโรคซึมเศร้าในชุมชน และประเมินอาการของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าอย่างสม่ำเสมอมากที่สุด ร้อยละ 99.5 ด้านผลผลิตพบว่า ได้รับความรู้เกี่ยวกับโรคซึมเศร้าจากป้ายประชาสัมพันธ์มากที่สุด ร้อยละ 60 และรับรู้ว่าตนเองได้รับการคัดกรองโรคซึมเศร้าด้วย 2 คำถาม ร้อยละ67.4 ได้รับการแจ้งผลว่าปกติร้อยละ 46.6 มีความเสี่ยงหรือแนวโน้มการป่วยเป็นโรคซึมเศร้าเพียงร้อยละ 4.4 ทุกคนได้รับการแจ้งผลว่าปกติร้อยละ 46.6 มีความเสี่ยงหรือแนวโน้มการป่วยเป็นโรคซึมเศร้าเพียงร้อยละ 4.4 ทุกคนได้รับการให้สุขภาพจิตศึกษาโรคซึมเศร้าร้อยละ 64.2 ด้านผลลัพธ์พบว่า มีความมั่นใจว่า การดูแลเฝ้าระวังโรคซึมเศร้าสามารถช่วยเหลือผู้ป่วยโรคซึมเศร้าในพื้นที่มากถึงร้อยละ 90.3 และชุมชนได้รับประโยชน์จากการดูแลเฝ้าระวังโรคซึมเศร้าร้อยละ 93.8 ด้านผลกระทบที่เกิดจากการพัฒนาระบบฯพบว่า ประชาชนจังหวัดยโสธรพร้อมจะให้การช่วยเหลือผู้ป่วยโรคซึมเศร้าถึงร้อยละ 99.4. สรุปผลการศึกษา ผลการพัฒนาระบบการเฝ้าระวังโรคซึมเศร้าสำหรับประชาชนทั่วไป และกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่นำร่องนั้น ส่งผลลัพธ์ที่สำคัญของความสำคัญของความสำเร็จคือ ประชาชนมั่นใจและได้รับประโยชน์จากระบบฯ นอกจากนี้ยังพร้อมที่จะให้การช่วยเหลือผู้ป่วยโรคซึมเศร้าในชุมชน. ข้อเสนอแนะ การขยายผลควรมีการรณรงค์เพื่อปรับทัศนคติต่อโรคซึมเศร้าของประชาชน รวมทั้งสร้างความตระหนักของปัญหาโรคซึมเศร้าเพื่อส่งเสริมการปฏิบัติตัวในการป้องกันและรับการรักษาต่อเนื่องต่อไป.

Keywords: โรคซึมเศร้า

ปีที่เผยแพร่/Year: 2008

Address: -

Code: 2010000277

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ไทย

Language: ไทย

Category: บทคัดย่อ

Download: