ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: พจนาถ กรึงไกร และคณะ

ชื่อเรื่อง/Title: เพชฌฆาตความเครียด.

แหล่งที่มา/Source: ร่วมมือ ร่วมพลัง : มุ่งหวังสู่สุขภาพจิตดี ในปี 2563 การประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ ครั้งที่ 7 ประจำปี 2551 กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. หน้า 181 .

รายละเอียด / Details:

ความสำคัญจังหวัดเชียงรายมีอัตราการฆ่าตัวตายจัดอยู่ในระดับรุนแรงอันดับต้นๆของประเทศไทยจากข้อมูลสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเชียงรายปี 2548-2550 อัตรา 18.49, และ 16.15 ต่อประชากรแสนคนตามลำดับ ดังนั้นการสร้างเสริมสุขภาพจิตและการพัฒนาภาคีเครือข่ายสุขภาพจิต จึงนับเป็นแนวทางที่เหมาะสมในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสุขภาพจิต ด้วยจังหวัดเชียงรายมีศักยภาพในเรื่องของสื่อ เนื่องจากกลุ่มสื่อมวลชนมีความเข้มแข้ง ทำงานเป็นเอกภาพ เข้าถึงกลุ่มประขาขนได้ง่ายและสามารถตอบสนองตรงตามความต้องการของท้องถิ่นได้อย่างแท้จริงจึงมีความใกล้ชิดและอิทธิพลต่อผู้รับสื่อเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะกลุ่มเยาวชน ซึ่งสื่อมีส่วนสำคัญในการนำเสนอพฤติกรรมทั้งดีและไม่ดี บางอย่างทำให้เด็กนำไปเป็นแบบอย่าง เพราะธรรมชาติของคนสามารถเรียนรู้ประสบการณ์ได้ โดยผ่านการรับรู้จากสื่อ. วัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างเครือข่ายและให้ความรู้ด้านสุขภาพจิตแก่เยาวชนในสถานศึกษาโดยสื่อมวลชน 2) เพื่อให้เยาวชนทราบข้อมูลและแหล่งให้บริการปรึกษาเมื่อมีปัญหาด้านจิตใจ. วิธีการศึกษา เป็นศึกษาวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม 1) อบรมบรรยายให้ความรู้เรื่องสุขภาพจิตและจิตเวชเบื้องต้นแก่สื่อมวลชนเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ 2 ครั้งๆ ละ 1 วัน กลุ่มเป้าหมายได้แก่ สื่อมวลชนประเภทนักจัดรายการวิทยุ(ดีเจ) 30 คน 2 ) จัดกิจกรรมเวทีมินิทอล์คโชว์ ภายใต้ชื่อว่า"เพชฌฆาตความเครียด" โดยกลุ่มดีเจ 2 ครั้งในสถานศึกษา กลุ่มเปาหมายได้แก่ เยาวชนในโรงเรียนดำรงราษฏร์สงเคราะห์และเชียงรายวิทยาคม 1,000 คน ระยะเวลาดำเนินการ ช่วงเปิดภาคเรียนแรกของปีการศึกษา 2550 และ2551. ผลการศึกษา พบว่า ดีเจเข้ารับการอบรม 29 คน แบบประเมินความรู้ก่อน-หลังอบรมของดีเจด้านสุขภาพจิตพบว่า ทำคะแนนได้เกินครึ่งร้อยละ 72.41(21) และ 89.66(26)ตามลำดับ มีเยาวชนที่เข้าร่วมกิจกรรมเพชฌฆาตความเครียด จากโรงเรียนทั้ง 2 แห่ง 1,350 คน ส่วนใหญ่มีความพึงพอใจระดับมากร้อยละ 8 และมากที่สุดร้อยละ 20. สรุปผลการศึกษา "เพชฌฆาตความเครียด"เป็นรูปแบบการทำงานจากความร่วมมือของสื่อมวลชนกับบุคลากรสาธารณสุขด้านสุขภาพจิตเชียงรายในการสร้างความเข้าใจและเข้าถึงเยาวชนที่มีปัญหาด้านจิตใจทำให้เกิดเครือข่ายการทำงานร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้น. ข้อเสนอแนะ ผลการศึกษาสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการทำงานร่วมกันระหว่างสื่อมวลชนกับบุคลากรสาธารณสุขในด้านอื่นๆได้อีกจำนวนมาก.

Keywords: อัตราการฆ่าตัวตาย, การป้องกันและแก้ไขปัญหาสุขภาพจิต

ปีที่เผยแพร่/Year: 2008

Address: สำนักงานสาธารณสุขเชียงราย รพ.สมเด็จพระญาณสังวร. รพ.เชียงรายประชานุเคราะห์

Code: 2010000280

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ไทย

Language: ไทย

Category: บทคัดย่อ

Download: