ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: กาญจนา คูณรังษีสมบูรณ์ และคณะ.

ชื่อเรื่อง/Title: รายงานการศึกษาอาชาบำบัดในเด็กออทิสติก.

แหล่งที่มา/Source: ร่วมมือ ร่วมพลัง : มุ่งหวังสู่สุขภาพจิตดี ในปี 2563 การประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ ครั้งที่ 7 ประจำปี 2551 กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข, หน้า 98 .

รายละเอียด / Details:

ออทิสติกเป็นความผิดปกติทางพัฒนาการแบบหนึ่งที่เรียกชี่อตามพฤติกรรมที่พบในวัยเด็กคือ การแยกตัวอยู่ในโลกของตนเอง ไม่ค่อยสื่อสารกับใคร จนทำให้เด็กขาดการรับรู้จากสิ่งแวดล้อมการบำบัดช่วยเหลือเด็กออทิสติกต้องอาศัยหลายแนวทางร่วมกันอย่างเป็นองค์รวม ซึ่งการใช้สัตว์ช่วยในการบำบัด ก็เป็นการรักษาทางเลือกอีกหนึ่งแนวทางที่ได้รับการเสนอแนะ สำหรับในการศึกษาครั้งนี้ได้ศึกษาผลของการใช้ม้าเพื่อการบำบัดเด็กออทิสติกซึ่งจัดโดยกองพันสัตว์ต่างกรมการสัตว์ทหารบก ค่ายตากสิน อ.แม่ริม จ. เชียงใหม่ ระหว่าง วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2551- วันที่ 7 พฤษภาคม 2551 จัดในวันพุธ เวลา 8.00-9.00 น. สัปดาห์ละ 1 ครั้ง จำนวน 12 ครั้ง. วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพัฒนาการและพฤติกรรมของเด็กออทิสติกที่เข้าร่วมโครงการอาชาบำบัด ระเบียบวิธีศึกษา การเก็บข้อมูลพัฒนาการและพฤติกรรมเด็กออทิสติกที่เข้าร่วมโครงการอาชาบำบัดโดย - ใช้แบบประเมินพฤติกรรมจากการสังเกต จากการทดสอบโดยตรง และจากการสอบถามจากผู้ปกครองหรือครูพี้เลี้ยง. - การประเมินพัฒนาการทางภาษาโดยนัยแก้ไขทางการพูด. - การประเมินพฤติกรรม. - Aberrant Behavior Checklist - Community (Thai Version) . - Autism Treatment Evaluation Checklist. - Conners Parent Questionnaire. - การประเมินความพึงพอใจของผู้ปกครอง. ผลการศึกษา เด็กที่เข้าร่วมโครงการทุกคนเป็นเด็กออทิสติกที่ได้รับการวินิจฉัยจากสถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์ จำนวน 10 คน อายุระหว่าง 3.8-17.1 ปี เพศหญิง 4 คน เพศชาย 6 คน เด็กที่เข้าร่วมโครงการทุกคนมีการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นในด้านอารมณ์ ด้านสังคม และด้านพัฒนาการ การประเมินพัฒนาการทางภาษาโดยนักแก้ไขการพูดว่าพัฒนาการทางภาษาดีขึ้น 6 คน การประเมินพฤติกรรมโดยใช้แบบประเมิน ABC ATEC CPQ เด็กมีพฤติกรรมดีขึ้น 7 คน ผู้ปกครองทุกคนมีความพึงพอใจมากที่สุดในด้านกิจกรรมในโครงการ ความปลอดภัยของโครงการ พัฒนาการและพฤติกรรมีท่ดีขึ้นของเด็กหลังเข้าร่วมโครงการ. สรุป อาชาบำบัดสามารถช่วยพัฒนาเด็กออทิสติกได้ เป็นกิจกรรมที่เด็กและผู้ปกครองพึงพอใจจึงอาจจะใช้ป็นกิจกรรมหนึ่งในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กออทิสติกแต่เนื่องจากเป็นกิจกรรมที่ใช้สัตว์เป็นสื่อในการจัดกิจกรรมจึงควรจัดในที่ซึ่งมีความพร้อมและผู้จัดกิจกรรมต้องมีความเชี่ยวชาญเฉพาะเพื่อความปลอดภัยในการพัฒนาเด็กที่ต้องให้การดูแลเป็นพิเศษ.

Keywords: เด็กออทิสติก, อาชาบำบัด

ปีที่เผยแพร่/Year: 2551

Address: สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์.

Code: 2010000295

ISSN/ISBN: -

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ไทย

Category: บทคัดย่อ

Download: