ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: อภิญญา กุณฑลลักษมี และคณะ.

ชื่อเรื่อง/Title: การประเมินความเที่ยงตรงของแบบสอบถาม TheAmsterdam preoperative anxiety and informationscale (APAIS) ฉบับภาษาไทยเพื่อประเมินระดับความวิตกกังวลก่อนการผ่าตัดในผู้ป่วยไทย.

แหล่งที่มา/Source: วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย ปีที่ 54 ฉบับที่ 1 มกราคม-มีนาคม 2552 หน้า 83.

รายละเอียด / Details:

ภูมิหลัง: ความวิตกกังวลในระยะก่อนผ่าตัดมีผลต่อผู้ป่วยทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ มีผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในร่างกายระหว่างระงับความรู้สึกได้ ในขณะนี้ยังไม่มีเครือ่งมีอเฉพาะเพื่อใช้ในการประเมินภาวะความวิตกกังวลก่อนการผ่าตัดในผู้ป่วยไทย จึงได้แปลแบบสอบถาม The Amsterdam preoperative anxiety and information scale (APAIS) เพื่อนำมาประเมินระดับความวิตกกังวลก่อนการผ่าตัดในผู้ป่วยไทย. วัตถุประสงค์:เพื่อศึกษาความเทียงตรงและความเชื่อถือได้ของแบบสอบถาม The Amsterdam preoperative anxiety and information scale (APAIS) ฉบบัภาษาไทย. วัสดุและวิธีการ: แบบสอบถาม The Amsterdam preoperative anxiety and information scale (APAIS) ประกอบด้วย 6 คำถามเกี่ยวกับความกังวลเกี่ยวกับการระงับความรู้สึก 2 ข้อ ความกังวลเกี่ยวกับการผ่าตัด 2 ข้อและความต้องการทราบข้อมูลเกี่ยวกับการระงับความรู้สึกและการผ่าตัด 2 ข้อ แบบสอบถามนี้ได้รับการแปลเป็นภาษาไทย และตรวจสอบความถูกต้องโดยการแปลไปและกลับ ก่อนจะนำไปใช้ทดสอบกับผู้ป่วย 34 ราย จากการคำนวณขนาดตัวอย่าง โดยเป็นผู้ป่วยที่จะรับการผ่าตัดในวันรุ่งขึ้น การตรวจสอบเที่ยงตรงของแบบสอบถาม APAIS ฉบับภาษาไทย โดยเปรียบเทียบกับแบบสอบถาม STAI form y-1 ซึ่งเป็น gold standard กำหนดค่าสัมประสิทธิ์ความสัมพันธ์มากกว่า 0.6 และ p‹0.01 ถือว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญความน่าเชื่อถือของแบบสอบถามประเมินจาก internal consistency เมื่อ Cronbach's alpha coefficient ≥ 0.70. ผลการศึกษา:ผู้ป่วย 34 คน (ชาย 15 คน และหญิง 19 คน) ตอบแบบสอบถาม APAIS ฉบับภาษาไทย พบว่า มรความสัมพันธ์ปานกลางกับแบบสอบถาม Spielberger's State Trait Anxiety Inventory (STAI form y-1) โดยค่าสัมประสิทธิ์ของความกังวลเกี่ยวกับการระงับความรู้สึก ความกังวลเกี่ยวกับการผ่าตัด ความกังวลโดยรวมมีค่าเท่ากับ 0.57, 0.48ฒ 0.57 ตามลำดับและความต้องการทราบข้อมูลเกี่ยวกับการระงับความรู้สึกและการผ่าตัดเท่ากับ 0.42 ความน่าเชื่อถือของแบบสอบถาม APAIS ฉบับภาษาไทย พบว่าในส่วนเกี่ยวข้องกับความวิตกังวลและความต้องการทราบข้อมูลมีค่า Cronbach's α เท่ากับ 0.87 และโดยรวมเท่ากับ 0.88 ความต้องการทราบข้อมูลสัมพันธ์กับความวิตกกังวลในแบบสอบถาม APAIS (r=0.62) มากกว่าแบบสอบถาม STAI form y-1 (r=0.42). สรุป: แบบสอบถาม APAIS ฉบับภาษาไทย มีความน่าเชื่อถือและสามารถใช้ประเมินระดับความวิตกกังวลก่อนการผ่าตัดในผู้ป่วยไทยได้ และสามารถนำมาใช้ในการคัดกรองและในการศึกษาเกี่ยวกับวิตกกังวลก่อนการผ่าตัด.

Keywords: ความวิตกกังวลก่อนผ่าตัด, ความกังวลเกี่ยวกับการระงับความรู้สึก.

ปีที่เผยแพร่/Year: 2552

Address: โรงพยาบาลพระนั่งเกล้า นนทบุรี

Code: 2010000360

ISSN/ISBN: 0125-6985

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ไทย

Category: บทคัดย่อ

Download: