ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: อำไพ ทองเงิน

ชื่อเรื่อง/Title: การคัดกรองโรคในกลุ่ม Pervasive Developmental Disorder (PDDs) ด้วยแบบคัดกรอง Pervasive Developmental DisorderScreening Questionnaire (PDDSQ) ในเด็กอายุ 1-4 ปี.

แหล่งที่มา/Source: ร่วมมือ ร่วมพลัง : มุ่งหวังสู่สุขภาพจิตดี ในปี 2563 การประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ ครั้งที่ 7 ประจำปี 2551กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. หน้า 114.

รายละเอียด / Details:

แบบคัดกรอง PDDSQ เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการคัดแยกกลุ่มอาการอื่นโดยมีคะแนนจุดตัดอยู่ที่ 13 คะแนน แบ่งเป็น 2 ฉบับ คือ ฉบับอายุ 1-4 ปีและ 4-18 ปี จากการทบทวนแฟ้มเวชระเบียนข้อมูลด้านการคัดกรองผู้ป่วยใหม่ของโรงพยาบาลยุวประสารทไวทโยปถัมภ์ในช่วงปีพ.ศ. 2546-2548 พบว่า มีผู้ป่วยจำนวนหนึ่งที่ถูกคัดกรองเข้าสู่กระบวนการรักษาแต่ถูกวินจฉัยว่าเป็นโรคจิตเวชอื่นๆ เช่น สมาธิสั้น ปัญญาอ่อนและพัฒนาการช้า เป็นต้น ผู้ทำการศึกษาจึงมีแนวคิดที่จะหาคะแนนจุดตัดที่เหมาะสมในการคัดแยกเด็ก PDDs ออกจากกลุ่มอาการอื่นๆ ประโยขน์ที่จะได้ช่วยให้แพทย์วินิจฉัยได้เร็วขึ้น และเป็นข้อมูลพื้นฐานในการส่งต่อเพื่อการรักษาในขั้นต่อไป. จุดประสงค์การศึกษาครั้งนี้เพื่อ 1.หาข้อจุดตัดคะแนนที่เหมาะสมในการคัดกรองโรคในกลุ่ม PDDs ออกจากจิตเวชอื่นๆ 2.เพื่อหาค่าพยากรณ์โอกาสที่จะเป็นโรค PDDs ตามปัจจัยเพศและอายุ วิธีการศึกษากลุ่มตัวอย่างคือผู้ป่วยใหม่อายุ 1-4 ปี ที่มารับบริการผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลยุวประสารทไวทโยปถัมภ์ในปี 2546-2548 ผ่านการคัดกรองด้วย PDDSQ มีค่าคะแนน 13 คะแนนขึ้นไป และถูกวินิจฉัยโรคจากจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นแล้วจำนวน 291 ราย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าความเชื่อถือได้ ในเรื่องค่าความไว ความจำเพาะ ความถูกต้อง โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป STATA version 10 และหาโอกาสเป็นโรคตามตัวแปร เพศ อายุป่วยผลการศึกษาพบว่าคะแนนที่ 14 เป็รจุดตัดที่เหมาะสมในการคัดแยก PDDs ออกจากจิตเวชอื่น โดยมีค่าความไว 75.5 ค่าความจำเฉพาะ 60.9 และค่าความถูกต้อง 69.7 และมีค่าการทำนายโรคสูงกว่าจิตเวชอื่นๆ 4.8 เท่าค่าความถูกต้องจำแนกตามเพศ พบว่า เพศชายมีค่าความไวสูงกว่าเพศหญิง ส่วนเพศหญิงมีค่าความจำเพาะสูงกว่าเพศชาย ปัจจัยด้านอายุพบว่ากลุ่มอายุ 24-35 เดือน เป็นกลุ่มที่มีโอกาสเป็นโรค PDDs มากที่สุด . จากผลการศึกษาครั้งนี้ผู้ศึกษาครั้งนี้ผู้ศึกษาข้อเสนอแนะว่าควรมีการศึกษาเพิ่มเติมในกลุ่มตัวอย่างขนาดใหญ่และศึกษารายละเอียดปลีกย่อยของพฤติกรรมแต่ละด้านเพื่อวิเคราะห์หาความเหมาะสมของข้อคำถามที่จะใช้คัดแยก กลุ่ม PDDs ออกจากจิตเวชอื่น และ PDDSQ ฉบับ 1-4 ปีนี้ เหมาะสมที่จะใช้ในชุมชน เพราะสามารถช่วยคัดกรองผู้ป่วยเด็กเข้าสู่ระบบการบำบัดรักษาเป็นการป้องกันปัญหาจิตเวชผู้ใหญ่ในอนาคตได้.

Keywords: การคัดกรองโรคในกลุ่ม Pervasive Developmental Disorder (PDDs), แบบคัดกรองPervasive Developmental DisorderScreening Questionnaire (PDDSQ)

ปีที่เผยแพร่/Year: 2551

Address: โรงพยาบาลยุวประสารทไวทโยปถัมภ์

Code: 2010000384

ISSN/ISBN:

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ไทย

Category: บทคัดย่อ

Download: