ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: ภิญโญ อิสรพงศ์

ชื่อเรื่อง/Title: ผลของโปรแกรมเตรียมความพร้อมในการดูแลต่อภาระการดูแลของผู้ปกครองเด็กออทิสติกในสถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์ จังหวัดเชียงใหม่.

แหล่งที่มา/Source: ร่วมมือ ร่วมพลัง : มุ่งหวังสู่สุขภาพจิตดี ในปี 2563 การประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ ครั้งที่ 7 ประจำปี 2551กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. หน้า 108.

รายละเอียด / Details:

ความสำคัญ:การดูแลเด็กออทิสติกพบว่า ผู้ปกครองส่วนใหญ่มีประสบการณ์ความรู้สึกท้อแท้ยากลำบากในการดูแล ขาดสิ่งสนับสนุนด้านอารมณ์และจิตใจ ทำให้ผู้ปกครองเกิดภาระการดูแลเด็กออทิสติกโปรแกรมเตรียมความพร้อมในการดูแลเด็กออทิสติก เป็นรูปแบบหนึ่งสามารถช่วยให้ผู้ปกครองมีความพร้อมในการดูแลเด็กออทิสติกด้านร่างกาย ด้านอารมณ์หรือพฤติกรรมของเด็กออทิสติก ด้านกรจัดการกับความเครียดที่เกิดขึ้นระหว่างการดูแล ด้านการขอความช่วยเหลือข้อมูลที่จำเป็นจากโรงพยาบาล เป็นต้นซึ่งสามารถส่งผลต่ปริมาณเวลาและความอยากลำบากที่เป็นภาระการดูแลลดลง ทำให้การดูแลเด็กออทิสติกเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ. วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบภาระการดูแลของผู้ปกครองเด็กออทิสติกก่อนและหลังได้รับโปรแกรมเตรียมความพร้อมในการดูแลเด็กออทิสติก. วิธีการศึกษา: การศึกษาครั้งนี้ เป็นการศึกษาแบบกึ่งทดลอง ชนิดกลุ่มเดียววัดก่อนและหลัง การทดลอง กลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ปกครองเด็กออทิสติกที่มารับบริการแผนกผู้ป่วยใน สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์ จังหวัดเชียงใหม่ กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยมีอำนาจการทำนาย ที่ระดับ 0.08 ค่าระดับ นัยสำคัญที่ 0.05 และขนาดอิทธิพลที่ยอมรับเท่ากับ 0.9 แล้วนำไปหาจากตารางได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง 15 คน โดยเลีอกแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบประเมินภาระการดูแลเด็กออทิสติก และเครื่องมือที่ใช้ในการทดลองคือโปรแกรมเตรียมความพร้อมในการดูแลเด็กออทิสติก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติทดสอบค่าที ชนิด 1 กลุ่มไม่เป็นอิสระต่อกัน ผลการศึกษา: ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนภาระการดูแลของผู้ปกครองเด็กออทิสติกภายหลังได้เข้าร่วมโครงการเตรียมความพร้อมในการดูแลเด็กออทิสติสมีค่าเฉลี่ยคะแนนภาระการดูแลลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001. สรุปผลการศึกษา:ผู้ปกครองเด็กออทิสติกที่ได้รับโปรแกรมเตรียมความพร้อมในการดูแลส่งผลให้ภาระการดูแลที่เป็นปริมาณเวลาและความอยากลำบากในการดูแลเด็กออทิสติกลดลง. ข้อเสนอแนะ: ควรมีการติดตามผลของการได้รับโปรแกรมการเตรียมความพร้อมในการดูแลของกลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาระยะยาว เช่น 3 เดือน 6เดือน เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อเป็นการวางแผนในการจัดโปรแกรมเตรียมความพร้อมในการดูแลเด็กออทิสติกซ้ำอีกครั้ง.

Keywords: โปรแกรมเตรียมความพร้อมในการดูแล,การดูแลของผู้ปกครองเด็กออทิสติก.

ปีที่เผยแพร่/Year: 2551

Address: สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์ จังหวัดเชียงใหม่.

Code: 2010000386

ISSN/ISBN:

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ไทย

Category: บทคัดย่อ

Download: