ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: ธิดารัตน์ คะนึงเพียร

ชื่อเรื่อง/Title: ผลของกิจกรรมการคิดเชิงบวกต่อความรู้สึกภาคภูมิใจในตนเอง.

แหล่งที่มา/Source: ร่วมมือ ร่วมพลัง : มุ่งหวังสู่สุขภาพจิตดี ในปี 2563 การประชุมวิชาการสุขภาพจิตนานาชาติ ครั้งที่ 7 ประจำปี 2551กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข. หน้า 113.

รายละเอียด / Details:

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของกิจกรรมการคิดเชิงบวกต่อความรู้สึกภาคภูมิใจในตนเองสำหรับนักศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิตชั้นปีที่ 1 รุ่นที่ 18 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์ การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง (quasi experimenial design) โดยใช้รูปแบบวัดกลุ่มเดียวก่อนและหลังการทดลอง(one group pre test -post test design) กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (purposive sampling) จำนวน 72 ราย ซึ่งเป็นนักศึกษาพยาบาลศาสตร์ชั้นปีที่ 1 รุ่นที่ 18 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล ประกอยด้วย เพศ อายุ โรงเรียนมัธยมที่จบการศึกษา แบบประเมินความรู้สึกภาคภูมิใจในตนเองของโรเซนต์เบริ์ก (Rosenberg Self Esteem Scale) จำนวน 10 ข้อ และกิจกรรมการคิดเชิงบวก ซึ่งประกอบด้วย 3 กิจกกรมหลัก ได้แก่ 1. กิจกรรมเรื่องดีๆ มีไว้แบ่งปัน 2. ข้อดีของฉันในวันนี้ 3. ผลของการคิดเชิงบวก โดยมีการดำเนินกิจกรรมสัปดาห์ละ 1 ครั้ง รวมทั้งหมด 30 ครั้ง (ครั้งที่ 1-15 ดำเนินการในภาคการศึกษาที่ 1 และ ครั้งที่ 16-30 ดำเนินการในภาคการศึกษาที่ 2) ครั้งละ 1 ชั่วโมง ในคาบ Home room ของนักศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลโดยเปรียบเทียบค่าคะแนนเฉลี่ยของระดับความรู้สึกภาคภูมิใจในตนเองก่อนและหลังการทดลองโดยใช้สถิติ t-test แบบ Dependent. ผลการศึกษา พบว่า ภายหลังที่นักศึกษาทำกิจกรรมการคิดเชิงบวก ด้านฉันรู้สึกว่าตนเองไม่มีอะไรน่าภูมิใจมากนัก มีค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และด้านโดยทั่วไปฉันรู้สึกพอใจตนเองและด้านมีบ่อยครั้งที่ฉันคิดว่าตนเองไม่มีอะไรดีเลย มีค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนด้าน ฉันรู้สึกว่าฉันก็มีอะไรดีๆ ในตนเอง ฉันรู้สึกว่าตนเองไร้ค่า ฉันรู้สึกว่าตนเองก็มีคุณค่าอย่างน้อยที่สุดก็เท่ากับคนอื่น และโดยรวมแล้วฉันมีความรู้สึกว่าตัวฉันล้มเหลว มีค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05. ข้อเสนกแนะ นำการเข้าร่วมกิจกรรมการคิดเชิงบวกต่อความรู้ภาคภูมิใจตนเอง ไปใช้ร่วมกับวิธีการอื่นๆ ในการพัฒนาความรู้สึกภาคภูมิใจในตนเอง ตัวอย่าง การฝึกทักษะการดำเนินชีวิต การแนะแนวแบบกลุ่ม.

Keywords: ความรู้สึกภาคภูมิใจในตนเอง,การคิดเชิงบวก.

ปีที่เผยแพร่/Year: 2551

Address: วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุรินทร์.

Code: 2010000387

ISSN/ISBN:

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ไทย

Category: บทคัดย่อ

Download: