ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: จันทิมา องค์โฆษิต ไกรฤกษ์

ชื่อเรื่อง/Title: จิตบำบัดในประเทศไทย

แหล่งที่มา/Source: วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย ปีที่ 42 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม-กันยายน 2540; หน้าที่ 150-155.

รายละเอียด / Details:

บทคัดย่อ จิตเวชศาสตร์ในประเทศไทยในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมามีความรุดหน้าไปมาก ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันว่าเป็นสาขาวิชาทางการแพทย์ที่มีส่วนสำคัญในการช่วยเหลือผู้ป่วย ความก้าวหน้าในด้านการรักษาด้วยยา ดูเสมือนว่าจะทำให้การรักษาวิธีอื่นๆ ด้อยลงไป อย่างไรก็ตามยาไม่สามารถแก้ไขปัญหาชีวิตต่างๆ ของคนเราได้ ความเข้าใจสภาวะจิตใจและพฤติกรรมของคนเราตลอดจนความรู้และทักษะในการรักษาผู้ป่วยด้วยวิธีจิตบำบัดจึงเป็นเอกลักษณ์ซึ่งทำให้จิตแพทย์ต่างไปจากแพทย์สาขาอื่นๆ ที่อาจใช้ยาทางจิตเวชได้ดีเช่นกัน ในบทความนี้ผู้เขียนได้กล่าวถึงความสำคัญของการรักษาด้วยจิตบำบัด และองค์ประกอบต่างๆ ของการทำจิตบำบัดจากประสบการณ์การรักษาในโรงพยาบาลเอกชน ได้แก่ ข้อคำนึงด้านสถานที่ ลักษณะผู้ป่วย การสัมภาษณ์เพื่อการวินิจฉัย การคัดเลือกผู้ป่วย และรูปแบบวิธีการรักษา ซึ่งผู้เขียนมีความเห็นว่าผู้รักษาควรเลือกใช้ให้เหมาะสมกับลักษณะและปัญหาของผู้ป่วย และอาจปรับเปลี่ยนรูปแบบการรักษาได้ตามความคืบหน้าของการรักษา วัตถุประสงค์ของการรักษาควรคำนึงถึงความเป็นไปได้ ตามภูมิหลัง ค่านิยมและสภาพสังคมของผู้ป่วยแต่ละคน สิ่งสำคัญที่ควรตระหนักคือ สำหรับวัฒนธรรมไทยเราแล้วครอบครัวยังเป็นส่วนสำคัญในชีวิตของผู้ป่วย การทำจิตบำบัดมุ่งส่งเสริมให้ผู้ป่วยมีความเป็นตัวของตัวเอง พึ่งตนเองได้ ในขณะเดียวกันผู้ป่วยก็ยังคงสามารถปรับตัวได้ดีต่อคนรอบข้าง โดยเฉพาะคนในครอบครัว

Keywords: จิตบำบัด วัฒนธรรม ประเทศไทย จิตเวชศาสตร์ในประเทศไทย, ประวัติจิตบำบัด, จิตเวช, จิตวิทยา, จิตเวชศาสตร์

ปีที่เผยแพร่/Year: 2540

Address: โรงพยาบาลสมิติเวช กรุงเทพมหานคร 10110

Code: 0000071

ISSN/ISBN: 0125-6985

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: บทคัดย่อ: วารสารวิชาการ

Download: Download รายงานวิจัย คลิกได้ที่นี่ค่ะ PDF Format 2.14MB