ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: พิเชฐ อุดมรัตน์ พ.บ.

ชื่อเรื่อง/Title: ระบาดวิทยาของโรคตื่นตระหนก

แหล่งที่มา/Source: วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย ปีที่ 46 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม-กันยายน 2544 หน้า 247-260.

รายละเอียด / Details:

ได้ทบทวนบทความและงานวิจัยทางด้านระบาดวิทยาที่เกี่ยวข้องกับโรคตื่นตระหนกทั้งในต่างประเทศและในประเทศไทย พบว่ามีปัญหาในการเปรียบเทียบผลของการศึกษา เพราะเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยนั้นแตกต่างกัน แต่พอสรุปได้ว่า อัตราความชุกชั่วชีวิตของอาการตื่นตระหนก (panic attack) นั้นอยู่ระหว่างร้อยละ 7-9 ขณะที่ความชุกของโรคตื่นตระหนก (panic disorder) ในหนึ่งปีประมาณร้อยละ 1 ส่วนในประเทศไทยนั้นพบผู้ป่วยโรคตื่นตระหนกในกลุ่มผู้ป่วยใหม่ที่มาตรวจที่คลินิกจิตเวชอยู่ระหว่างร้อยละ 0.7-12.4 ในด้านความแตกต่างระหว่างเพศพบว่าในต่างประเทศสัดส่วนของเพศหญิง : ชายที่อยู่ในชุมชนแล้วป่วยเป็นโรคตื่นตระหนกอยู่ระหว่าง 1.3:1 ถึง 5.8:1 ขณะที่ในประเทศไทยพบผู้ป่วยที่มารักษาที่โรงพยาบาลมีสัดส่วนของเพศหญิง : ชาย อยู่ระหว่าง 0.67:1 ถึง 1.45:1 การที่พบผู้ชายป่วยเป็นโรคตื่นตระหนกแล้วมารักษาพอ ๆ กับผู้หญิงนั้นอาจเป็นเพราะปัจจัยทางวัฒนธรรมที่ในสังคมไทยมักยอมรับอาการตื่นตระหนกที่เกิดขึ้นในผู้หญิงว่าเป็น “โรคลม” ซึ่งพบได้บ่อยในผู้หญิง เมื่อเกิดขึ้นแล้วผู้หญิงจึงมักรักษาตัวเองอยู่ที่บ้านด้วยการกินยาลม ขณะที่สังคมไทยไม่ได้ยอมรับว่าผู้ชายจะเป็นโรคลมดังกล่าว เมื่อเกิดขึ้นกับผู้ชายแล้วทำให้ผู้ชายมารักษาได้รวดเร็วกว่า จึงทำให้ได้สัดส่วนระหว่างเพศพบพอ ๆ กันทั้งผู้หญิงและผู้ชาย สำหรับอายุที่เริ่มป่วยนั้นพบว่ามีการกระจายเป็นสองช่วงคือ ช่วงวัยรุ่นตอนปลายกับช่วงวัยกลางคน โดยพบผู้ป่วยบางรายมีอาการป่วยที่สัมพันธ์กับเหตุการณ์ชีวิตในวัยเด็ก และมักพบภาวะโรคร่วมของโรคทางจิตเวชอื่น ๆ กับโรคตื่นตระหนกได้บ่อย เช่น โรคซึมเศร้า โรคกลัวสังคม เป็นต้น

Keywords: โรคตื่นตระหนก ระบาดวิทยา ความชุก อัตราส่วนระหว่างเพศ ภาวะโรคร่วม, panic attack, panic disorder

ปีที่เผยแพร่/Year: 2544

Address: ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา 90110

Code: 000008

ISSN/ISBN: 0125-6985

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: บทคัดย่อ: วารสารวิชาการ

Download: Download รายงานวิจัย คลิกได้ที่นี่ค่ะ PDF Format 2.74MB