ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: จันทร์ชนก โยธินชัชวาล

ชื่อเรื่อง/Title: สภาวะทางสังคมของเด็กสมาธิสั้น

แหล่งที่มา/Source: ที่ประชุมวิชาการกรมสุขภาพจิต ครั้งที่ 7 ปี 2544 "ความสุขที่พอเพียง" วันที่ 5-7 กันยายน 2544 . หน้า170

รายละเอียด / Details:

วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาข้อมูลทั่วไป และสภาวะทางสังคมของเด็กสมาธิสั้นที่มารับบริการของศูนย์สุขวิทยาจิต รวบรวมจากแฟ้มผู้ป่วยที่มารับบริการในปี 2542 และปี 2543 ด้วยอาการสำคัญ ซน ไม่อยู่นิ่ง ไม่มีสมาธิ และได้รับการวิจฉัยว่าเป็นเด็กสมาธิในปี พ.ศ 2542-2543 (ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2541-กันยายน 2543) จำนวน 134 ราย ผลการศึกษาพบว่าส่วนใหญ่เป็นเพศชาย (ร้อยละ 79.1) มีอายุระหว่าง 6-8 ปี (ร้อยละ 48.2) ศึกษาอยู่ในระดับประถมศึกษาปีที่ 1-3 (ร้อยละ 44.3) เป็นบุตรคนที่ 1 (ร้อยละ 66) มีผลการเรียนระดับปานกลาง (ร้อยละ 41.6) ส่วนเพศหญิง (ร้อยละ 20.9) มีอายุระหว่าง 6-8 ปี (ร้อยละ 57.1) ศึกษาอยู่ในระดับอนุบาล 1-3 (ร้อยละ 42.8) เป็นบุตรคนที่ 1( ร้อยละ 82.1) มีพี่น้องสองคน (ร้อยละ 53.5) มีผลการเรียนระดับอ่อน (ร้อยละ 39.3) บิดาส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 31-40 ปี (ร้อยละ 44.8) จบการศึกษาระดับปริญญาตรี (ร้อยะล 32.8) อาชีพรับจ้าง (ร้อยละ 29.9) รายได้ 15,001-20,000บาท (ร้อยละ 33.6) มารดาส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 31-40 ปี (ร้อยละ 49.3) จบการศึกษาระดับปริญญาตรี (ร้อยละ 33.6) อาชีพรับจ้าง (ร้อยละ 28.4) รับรายได้จากผู้อื่น (ร้อยละ 26.2) สถานภาพสมรสอยู่ด้วยกัน (ร้อยละ 81.3) เป็นครอบครัวเดี่ยว (ร้อยละ 68.7) และ ไม่มีประวัติจิตเวชในครอบครัว (ร้อยละ 85.8) ในครอบครัวรักใคร่กันดี (ร้อยละ 73.1) ผู้ใหญ่ในครอบครัวมีความขัดแย้งกัน (ร้อยละ 14.2) บิดามารดาไม่มีความบกพร่อง/พิการ (ร้อยละ 97) ในครอบครัวมีการพูดคุยที่ดีต่อกัน (ร้อยละ 86.6) มีการเลี้ยงดูปกติ (ร้อยละ 60.4) ครอบครัวอบอุ่น (ร้อยละ 91) ไม่มีเหตุการณ์ผิดปกติในปัจจุบัน (ร้อยละ 97) เด็กเข้ากับเพื่อนและครูได้ดี (ร้อยละ 85.8) ภาวะความเครียดของเด็กพบว่าปกติ (ร้อยละ 96.3) จากข้อมูลพบสิ่งที่น่าสังเกตคือ ท่าทีการเลี้ยงดูของบิดามารดาจะเป็นลักษณะของการดูแลเอาใจใส่มากเกินไป ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ถึงความสนใจในพฤติกรรมของเด็ก แสดงให้เห็นว่าบิดามารดาใส่ใจดูแลจนเห็นว่าเด็กเป็นปัญหาจึงพามาพบแพทย์ นอกจาการประเมินสภาวะของอาการและการใช้ยาในการรักษาแล้ว การให้ความรู้ความเข้าใจในการดำเนินของโรค และการเข้าใจ พฤติกรรมในการฝึก หรือปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเป็นสิ่งที่จำเป็น บิดามารดาที่มีปัญหาร่วมกันมาพบกันเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ในการปรับพฤติกรรมของเด็ก เป็นแรงเสริมทางใจให้บิดา มารดามีความรู้สึกว่ายังมีคนอื่นที่เหมือนตัวเรา และทำให้สามารถเข้าใจและช่วยเด็กได้ จากข้อมูลดังกล่าวเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงความจำเป็น ในการที่ต้องจัดบริการให้การปรึกษาแก่บิดามารดา ครู และคิดค้นหารูปแบบการให้บริการที่เหมาะสม และนำไปเผยแพร่ในการจัดบริการดังกล่าวได้

Keywords: เด็ก, เด็กสมาธิสั้น, เด็กซน, สภาวะทางสังคม, child psychiatry

ปีที่เผยแพร่/Year: 2544

Address: กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข

Code: 0000101

ISSN/ISBN: 974-296-076-3

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: Paper ได้รับคัดเลือกนำเสนอในที่ประชุมวิชาการกรมสุขภาพจิต

Download: -