ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: สุวรรณี เรืองเดช

ชื่อเรื่อง/Title: การวินิจฉัยและการรักษาโรคสมาธิสั้นในเด็กและวัยรุ่น : ทบทวนวรรณกรรมและกรณีผู้ป่วย 1 ราย

แหล่งที่มา/Source: ที่ประชุมวิชาการกรมสุขภาพจิต ครั้งที่ 7 ปี 2544 "ความสุขที่พอเพียง" วันที่ 5-7 กันยายน 2544 . หน้า 169

รายละเอียด / Details:

วัตถุประสงค์ เพื่อเป็นแนวทางในการดูแลเด็กโรคสมาธิสั้นการทบทวนวรรณกรรมในการวินิจฉัยและรักษาโรคสมาธิสั้น จากบทความวารสารทางการแพทย์ทั้งในและต่างประเทศ ด้านการวินิจฉัยปัจจุบันใช้เกณฑ์การวินิจฉัยโรคตาม DSM IV การรักษาแบบ multimodel ซึ่งเป็นการรักษาร่วมกันระหว่างการรักษาทางยา ทางจิตสังคม และทางการศึกษา เป็นที่ยอมรับมากที่สุด ถึงแม้ว่าการศึกษาที่ดำเนินอยู่ในปัจจุบันยังไม่สามารถสรุปผลได้แน่นอน โรคสมาธิสั้น (Attention Deficit Hyperactivity Disorder, ADHD) เป็นหนึ่งในโรคจิตเวชเด็กและวัยรุ่นที่พบบ่อย ประมาณ 3-5% ของเด็กวัยเรียนในสหรัฐอเมริกา ในประเทศไทยพบประมาณ 2.37% อาการที่พบประกอบด้วย hyperactivity, inattention cและ impulsivity โรคนี้ก่อให้เกิดปัญหาทั้งต่อตัวเด็ก ครอบครัวและสังคม ในด้านปัญหาการเรียน ปัญหาพฤติกรรม ปัญหาทางจิตใจ และสังคม โรคสมาธิสั้นเป็นโรคเรื้อรัง ที่มักจะมีอาการไปจนถึงวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ มักมีอาการจนถึงวัยรุ่น แพทย์ควรให้การวินิจฉัยโรคตาม DSM IV โดยละเอียดถึงชนิดของโรค ปัญหาที่พบในเด็กแต่ละรายและโรคทางจิตเวชอื่นที่พบร่วมด้วย เนื่องจากปัจจัยเหล่านี้ก่อให้เกิดการดำเนินโรคและผลลัพธ์แตกต่างกัน เช่น ADHD combined type เกิดร่วมกับ conduct disorder มากกว่า type อื่นๆ ทำให้การดำเนินโรคและผลลัพธ์ไม่ดี ต้องการการรักษาหลายวิธีร่วมกัน ยาที่นิยมใช้รักษา ADHD มากที่สุด คือ methylphenidate ในสหรัฐอเมริกาใช้ยาร่วมกันมากที่สุด คือ methylphenidate ร่วมกับยา clonidine การรักษาทางจิตสังคมและการรักษาทางการศึกษาช่วยลดปัญหาต่างๆ จาก ADHD ที่ได้ผลน้อยหรือไม่ได้ผลจากการรักษาทางยา สรุปผลการรักษา รายนี้พบว่าผู้ป่วยมีอาการทั้ง hyperactive impulsive และ inattention เข้าได้กับ ADHD combined type พบปัญหาทั้งด้านการเรียน ปัญหาพฤติกรรม ปัญหา สัมพันธภาพกับเพื่อน คณุ และคนในครอบครัวอีกทั้งยังมีปัญหาการเลี้ยงดูที่ไม่ถูกต้องของบิดาอีกด้วย

Keywords: สมาธิสั้น, เด็ก, วัยรุ่น, การรักษา, โรคสมาธิสั้น, จิตเวชเด็ก, ADHD, hyperactive child, attention deficit hyperactivity disorder, child psychiatry, child

ปีที่เผยแพร่/Year: 2544

Address: กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข

Code: 0000102

ISSN/ISBN: 974-296-076-3

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: Paper ได้รับคัดเลือกนำเสนอในที่ประชุมวิชาการกรมสุขภาพจิต

Download: -