ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: ดวงกมล สุจริตกุล

ชื่อเรื่อง/Title: ผลกระทบของการขาดการติดต่อเพื่อขอรับการตรวจรักษาที่มีต่อการเกิดพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรงของผู้ป่วยจิตเวชที่เป็นผู้ป่วยในของโรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมา

แหล่งที่มา/Source: ที่ประชุมวิชาการกรมสุขภาพจิต ครั้งที่ 7 ปี 2544 "ความสุขที่พอเพียง" วันที่ 5-7 กันยายน 2544. หน้า 72

รายละเอียด / Details:

พฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรงของผู้ป่วยจิตเวชเป็นภาวะคุกคามที่เป็นอันตราย และเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผู้ป่วยจิตเวชต้องรับการรักษาแบบผู้ป่วยในซึ่งเป็นการให้บริการที่เสียค่าใช้จ่ายสูงมาก ส่วนใหญ่ของผู้ป่วยเหล่านี้เป็นผู้ป่วยที่ขาดการติดต่อเพื่อขอรับการตรวจรักษา ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาเชิงวิเคราะห์ชนิดย้อนหลังแบบ Unmatched Case-Control Study เกี่ยวกับผลกระทบของการขาดการติดต่อเพื่อขอรับการตรวจรักษาที่มีต่อการเกิดพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรงของผู้ป่วยจิตเวชที่เป็นผู้ป่วยในของโรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมา โดยใช้ผู้ป่วยจิตเวชที่เป็นผู้ป่วยในของโรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมาในปีงบประมาณ 2536 เป็นประชากรตัวอย่าง กลุ่มศึกษาคือประชากรตัวอย่าง ที่มีพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรงขณะพักรักษาตัวเป็นผู้ป่วยในครั้งนี้ทุกรายซึ่งมีจำนวน 148 ราย กลุ่มควบคุมคือประชากรตัวอย่างที่ไม่มีอาการก้าวร้าวรุนแรง ตลอดระยะเวลาของการพักรักษาตัวอยู่เป็นผู้ป่วยของโรงพยาบาลจิตเวชนครราชสีมาครั้งนี้ซึ่งถูกเลือกออกมาเป็นจำนวน 148 ราย เท่าจำนวนของกลุ่มศึกษาโดยใช้วิธี Simple random sampling วิเคราะห์ข้อมูลโดยคำนวณค่าอัตราเสี่ยง Relative Risk ปัจจัยเสี่ยงคือการขาดการติดต่อเพื่อขอรับการตรวจรักษามีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิด พฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรงมากกว่าผู้ป่วยจิตเวชที่เป็นผู้ป่วยในและไม่มีประวัติขาดการติดต่อเพื่อขอรับการตรวจรักษา 6.02 เท่าและอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จึงควรหาแนวทางป้องกันการขาดการติดต่อเพื่อขอรับการตรวจรักษา ของผู้ป่วยจิตเวชเพื่อลดโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดพฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง ซึ่งอาจทำได้หลายวิธี เช่น โดยการพัฒนาเครือข่ายระบบบริการสุขภาพจิต, พัฒนาระบบส่งต่อ เป็นต้น

Keywords: พฤติกรรมก้าวร้าว, รุนแรง, ขาดยา, ขาดการรักษา, ผู้ป่วยจิตเวช, ผู้ป่วยใน, โรคจิต

ปีที่เผยแพร่/Year: 2544

Address: กรมสุขภาพจิต,กระทรวงสาธารณสุข

Code: 00002

ISSN/ISBN: 974-296-076-3

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: Paper ได้รับคัดเลือกนำเสนอในที่ประชุมวิชาการกรมสุขภาพจิต

Download: -