ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: นิรันดร์ วิเชียรทอง

ชื่อเรื่อง/Title: การศึกษากลุ่มวินิจฉัยโรคร่วมในโรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่น

แหล่งที่มา/Source: ที่ประชุมวิชาการกรมสุขภาพจิต ครั้งที่ 7 ปี 2544 "ความสุขที่พอเพียง" วันที่ 5-7 กันยายน 2544. หน้า 97

รายละเอียด / Details:

กลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม (Diagnosis related group, DRG) คือ ระบบการจัดกลุ่มผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล หลักการของการจัดกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วมเป็นระบบแบ่งกลุ่มผู้ป่วยที่ใช้จัดกลุ่มผู้ป่วยในเพื่อบอกว่าผู้ป่วยที่ถูกจัดอยู่ในกลุ่มเดียวกัน จะมีวันนอนในโรงพยาบาลใกล้เคียงกันและใช้ทรัพยากรของโรงพยาบาลใกล้เคียงกันด้วย ซึ่งต้องการข้อมูลการวินิจฉัยโรคที่บอกธรรมชาติและความรุนแรงของการเจ็บป่วย ตัวแปรสำคัญที่นำมาใช้จัดกลุ่ม คือ การวินิจฉัยโรคหลัก วินิจฉัยโรคอื่นๆ ได้แก่ โรคที่เป็นร่วมด้วย โรคแทรกซ้อน หัตถการผ่าตัด อายุ สถานภาพการจำหน่วยผู้ป่วย ข้อมูลจำนวนวันนอน และค่ารักษาที่โรงพยาบาลเรียกเก็บ เพื่อคำนวณคะแนนน้ำหนักสัมพันธ์ ซึ่งเป็นดัชนีสะท้อนการใช้ทรัพยากรในโรงพยาบาล วัตถุประสงค์การศึกษา เพื่อนำข้อมูลผู้ป่วยในมาจัดกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วมเพื่อให้ทราบถึงแบบแผนการเจ็บป่วย ค่ารักษาพยาบาล และพัฒนาคุณภาพบริการ - การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา (Retrospective, descriptive study) โดยใช้ข้อมูลผู้ป่วยในของโรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นในฐานข้อมูลคอมพิวเตอร์ย้อนหลัง 3 ปี ซึ่งประกอบด้วย ข้อมูลทางเวชระเบียน และข้อมูลการเงินของผู้ป่วยในที่จำหน่ายตั้งแต่ วันที่ 1 ตุลาคม 2542 ถึง 31 มีนาคม 2544 โดยใช้ข้อมูลมาจัดกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม (Diagnosis related group, DRG) โดยใช้โปรแกรม DRG Audit v 3.1 for TDRG และโปรแกรม Thai DRG Grouper v.2.01 พบว่า ข้อมูลผู้ป่วยทั้งหมด 3,781 ราย สามารถจัดกลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม (DRG) ได้ทั้งหมด คิดเป็นร้อยละ 100 มีจำนวน DRG ทั้งหมด 5 กลุ่ม น้ำหนักสัมพันธ์ มีค่าอยู่ระหว่าง 0 ถึง 0.57 กลุ่มวินิจฉัยโรคร่วมที่พบบ่อย 3 กลุ่ม ได้แก่ Psychossis รองลงมาคือ Alcohol/drug abuse or dependence, detoxification or other symptomatic without CC พบมากเป็นอันดับสาม คือ Organic disturdances and mental retardation ได้เปรียบเทียบผลการทำงานของแพทย์แต่ละคน ด้วยการนำคะแนนสัมพันธ์กลุ่มวินิจฉัยโรคร่วมมาเป็นเกณฑ์วัด พบว่า แพทย์แต่ละคนดูแลผู้ป่วยที่มีความยากและซับซ้อนไม่แตกต่างกัน และเปรียบเทียบการใช้ยาของแพทย์ต่างๆ ภายในกลุ่ม DRG เดียวกันไม่มีความแตกกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อถามความเห็นแพทย์ พบว่า ร้อยละ100 เห็นว่า DRG สามารถวัดผลงานได้และสามารถกระตุ้นประสิทธิภาพของแพทย์ได้ด้วย

Keywords: วินิจฉัยโรคร่วม, กลุ่มวินิจฉัยโรคร่วม, วินิจฉัยโรค, ระบบการจัดกลุ่มผู้ป่วย, DRG, drg, diagnosis related group

ปีที่เผยแพร่/Year: 2544

Address: กรมสุขภาพจิต,กระทรวงสาธารณสุข

Code: 000024

ISSN/ISBN: 974-296-076-3

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: Paper ได้รับคัดเลือกนำเสนอในที่ประชุมวิชาการกรมสุขภาพจิต

Download: -