ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: อรัญญา ตุ้ยคำภีร์

ชื่อเรื่อง/Title: การพัฒนามาตรวัดความมุ่งหวังในชีวิตของนักศึกษาไทย

แหล่งที่มา/Source: วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย ปีที่ 9 ฉบับที่ 1, มกราคม 2544, หน้า 18-26

รายละเอียด / Details:

มาตรวัดความมุ่งหวังในชีวิตใช้วัดแนวคิดทฤษฎีโลโกเทอราปีเกี่ยวกับการรับรู้เป้าหมายและความหมายในชีวิต โดยมีการศึกษาวิจัยเพื่อตรวจสอบคุณภาพของมาตรวัดนี้ในคนอเมริกันและคนจีนฮ่องกง แต่ยังไม่มีการศึกษาเรื่องนี้ในคนไทย การวิจัยครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนามาตรวัดความมุ่งหวังในชีวิตและศึกษาค่าคะแนนเฉลี่ยมาตรวัดความมุ่งหวังในชีวิตนักศึกษาไทย โดยการสุ่มนักศึกษาไทยเพื่อตอบมาตรวัดความมุ่งหวังในชีวิตด้วยตนเอง ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม-15 กุมภาพันธ์ 2543 มาตรวัดดังกล่าวประกอบด้วย แบบวัด Purpose in Life (PIL) และแบบวัด Seeking of Noetic Goals (SONG) ฉบับภาษาไทย ซึ่งแปลด้วยผู้วิจัยผลการวิจัยพบว่า มีนิสิตนักศึกษาไทยตอบมาตรวัดนี้จำนวน 1,320 คน และมีอายุเฉลี่ย 20.2+1.5 ปี คุณภาพ รายข้อส่วนใหญ่ของแบบวัด PIL ยกเว้นข้อที่ 14 และ 15 และแบบวัด SONG ยกเว้นข้อที่ 2,3 และ 19 มีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ราข้อกับมาตรรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ค่าความเที่ยงของแบบวัด PIL และแบบวัด SONG ฉบับภาษาไทย อยู่ในระดับสูงโดยมีค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ 0.84 และ 0.78 ตามลำดับ การวิเคราะห์ปัจจัยหลักและหมุนแกนแบบแวริแมกซ์ของแบบวัด PIL พบว่ามี 5 ปัจจัยสำคัญซึ่งอธิบายความแปรปรวนทั้งหมดได้ร้อยละ 53.8 ส่วนแบบวัด SONG พบว่ามี 4 ปัจจัยสำคัญซึ่งอธิบายความแปรปรวนทั้งหมดได้ร้อยละ 45.1 เมื่อรวมข้อของแบบวัด PIL ปละแบบวัด SONG พบว่ามี 8 ปัจจัยสำคัญซึ่งอธิบายความแปรนปรวนทั้งหมดได้ร้อยละ 48.3 ค่าคะแนนเฉลี่ยความมุ่งหวังในชีวิตทั้งแบบวัด PIL และ SONG เท่ากับ 102.8+16.3 และ 86+13.8 ตามลำดับ มาตรวัดความมุ่งหวังในชีวิตทั้งแบบวัด PIL และ SONG ฉบับภาษาไทย สามารถวัดการรับรู้เป้าหมายและความหมายในชีวิตของนักศึกษาไทยได้อย่างมีความตรงและเชื่อถือได้ ดังนั้นควรมีการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อพัฒนามาตรวัดความมุ่งหวังในชีวิตฉบับภาษาไทยซึ่งรวมข้อของแบบวัด PIL และแบบวัด SONG ที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นต่อไป ‹br>
  Download รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ได้ที่นี่ค่ะ PDF Format 2.17MB

Keywords: มาตรวัดความมุ่งหวังในชีวิต, นักศึกษาไทย

ปีที่เผยแพร่/Year: 2544

Address: กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข

Code: 0000249

ISSN/ISBN: 2859-479-X

Country of publication: Thailand.

Language: ภาษาไทย

Category: บทคัดย่อ: วารสารวิชาการ

Download: Download รายงานวิจัย คลิกได้ที่นี่ค่ะ PDF Format 2.14MB