ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: นงลักษณ์ สาตรา

ชื่อเรื่อง/Title: ความคิดเห็นของบุคลากรของรัฐต่อการบังคับรักษาผู้มีความผิดปกติทางจิต

แหล่งที่มา/Source: วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย ปีที่ 9 ฉบับที่ 2, พฤษภาคม 2544, หน้า 63-72

รายละเอียด / Details:

แผนพัฒนาสุขภาพจิต ตามแผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 พ.ศ 2540-2544 กรมสุขภาพจิต กำหนดกลวิธีชัดเจนว่าจะผลักดันให้มีกฎหมายสุขภาพจิตขึ้นในประเทศไทย การวิจัย เรื่องนี้เพื่อศึกษาขอบเขต กระบวนการ และรูปแบบการบังคับรักษา เพื่อเป็นแนวทางจัดทำกฎหมายสุขภาพจิตของไทย วิธีการศึกษาส่งแบบสอบถามที่สร้างขึ้นให้บุคลากรของรัฐในเขตสาธารณสุขเขต 4 รวม 3 กลุ่มอาชีพ ได้แก่ กลุ่มการแพทย์และสาธารณสุข กลุ่มกระบวนการยุติธรรมและการควบคุม กลุ่มปกครองท้องถิ่นให้ตอบกลับ รวม 1,580 ฉบับ ผลการศึกษา มีผู้ตอบแบบสอบถามกลับโดยสมบูรณ์ 732 ฉบับ (ร้อยละ 46.3) วิเคราะห์ผลโดยใช้สถิติ ความถี่ ร้อยละ ค่ามัธยฐาน ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้ค่าสถิต ิChi-square test Kruskal-Wallis test ในการพรรณนาเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างกลุ่มอาชีพพบว่าประเด็นขอบเขตความผิดปกติทางจิตที่ควรถูกบังคับรักษา 5 อันดับแรกคือ ได้แก่ ผู้ที่มีพฤติกรรมผิดปกติทางเพศ และผู้ติดสารเสพติดที่มีอาการเอะอะคลุ้มคลั่ง ผู้ป่วยโรคจิตที่ไม่รู้เรื่อง เดินเร่ร่อนตามถนน แต่งกายมอมแมม ผู้มีพฤติกรรมสะสมอาวุธ สารพิษเพื่อจะทำร้ายผู้อื่นจากความคิดหวาดระแวง และผู้ที่มีอารมณ์รุนแรงไม่สามารถควบคุมอารมณ์ของตนเองได้ ประเด็นกระบวนการบังคับรักษา โดยร้องขอต่อแพทย์ให้เป็นผู้วินิจฉัยและควบคุมตัว ระยะเวลาการบังคับรักษาและการจำหน่ายควรขึ้นกับดุลพินิจของแพทย์รูปแบบการบังคับรักษาควรมีทั้งแบบผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลจิตเวชและโรงพยาบาลทั่วไป ครอบครัวควรเป็นผู้ยื่นอุทธณณ์ต่อศาล กรณีที่มีการควบคุมรักษาในโรงพยาบาลนานเกิน 6 เดือน และศาลควรวินิจฉัยคำอุทธรณ์ภายใน 15 วันทำการ กรณีผู้ป่วยหลบหนี ครอบครัวและตำรวจควรติดตามผู้ป่วยกลับไปรักษาตามเดิมตามลำดับ เมื่อสิ้นกระบวนการรักษา ครอบครัวควรดูแลต่อ โดยขอให้รัฐออกบัตรสงเคราะห์และให้การรักษาโดยไม่คิดมูลค่า ความคิดเห็นของประชากรกลุ่มศึกษาทั้ง 3 กลุ่ม ในประเด็นกระบวนการ รูปแบบในการบังคับรักษาไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สรุปผลการศึกษาจะเป็นแนวทางจัดทำกฎหมายสุขภาพจิตไทยต่อไป.

Keywords: การบังคับรักษา,ผู้มีความผิดปกติทางจิต, การอุทธรณ์

ปีที่เผยแพร่/Year: 2544

Address: โรงพยาบาลนิติจิตเวช กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข

Code: 0000257

ISSN/ISBN: 2859-497-X

Country of publication: Thailand.

Language: ภาษาไทย

Category: บทคัดย่อ: วารสารวิชาการ

Download: Download รายงานวิจัย คลิกได้ที่นี่ค่ะ PDF Format 2.14MB