ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: สาโรช คำรัตน์

ชื่อเรื่อง/Title: การเผชิญปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตอำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี

แหล่งที่มา/Source: วารสารสุขภาพจิตแห่งประเทศไทย ปีที่ 9 ฉบับที่ 2, พฤษภาคม 2544, หน้า 73-80

รายละเอียด / Details:

เพื่อศึกษาปัจจัยบางประการที่มีความสัมพันธ์กับวิธีการเผชิญปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย เขตอำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ประชากรที่ศึกษาคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย เขตอำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ปีการศึกษา 2542 ภาคเรียนที่ 1 จำนวน 9 โรงเรียน สุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นได้จำนวนตัวอย่างทั้งชายและหญิงทั้งสิ้น 1,720 ราย เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วยแบบสอบถามที่ตอบด้วยตนเอง 5 ส่วนคือ1. ข้อมูลภูมิหลัง 2. แบบสำรวจบุคลิกภาพ MPI 3. แบบวัดความเชื่อในความสามารถของตน ของ Sherer และคณะ 4. แบบวัดลักษณะ ความสัมพันธ์ของสมาชิกในครอบครัว 5. แบบสอบถามวิธีการเผชิญปัญหาซึ่งคณะผู้วิจัยครั้งนี้ ได้สร้างขึ้นโดยผ่านการตรวจสอบจากผู้เชี่ยวชาญ ผลการศึกษาพบว่า นักเรียนกลุ่มตัวอย่างส่วนมากใช้วิธีการเผชิญปัญหาด้วยตนเอง นักเรียนกลุ่มตัวอย่างมีบุคลิกภาพแบบเปิดเผย-เก็บตัวอยู่ในระดับปกติมากที่สุด (ร้อยละ 81.5) และมีบุคลิกภาพแบบวิตกกังวลอ่อนไหวง่าย-มั่นคง ในระดับปกติมากที่สุด (ร้อยละ 60.3) นักเรียนกลุ่มตัวอย่าง มีคะแนนเฉลี่ยรับรู้ความสามารถของตนเอง เท่ากับ 46.68 และมีคะแนนเฉลี่ยลักษณะความสัมพันธ์ของสมาชิกในครอบครัวเท่ากับ 53.84 นักเรียนกลุ่มตัวอย่างมีคะแนนส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของการรับรู้ความสามารถของตนเท่ากับ 10.36 และคะแนนส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของลักษณะความสัมพันธ์ของสมาชิกในครอบครัว เท่ากับ 3.92 เพศและบุคลิกภาพแบบวิตกกังวลอ่อนไหวง่าย-มั่นคง ของนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง มีความสัมพันธ์กับวิธีการเผชิญปัญหาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=.010, p=.000) การรับรู้ความสามารถของตน และลักษณะความสัมพันธ์ของสมาชิกในครอบครัวของนักเรียนกลุ่มตัวอย่างมีความสัมพันธ์กับวิธีการเผชิญปัญหาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p=.000, p=.000)

Keywords: การเผชิญปัญหา, นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย อุบลราชธานี

ปีที่เผยแพร่/Year: 2544

Address: กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข

Code: 0000259

ISSN/ISBN: 2859-497-X

Country of publication: Thailand.

Language: ภาษาไทย

Category: บทคัดย่อ: วารสารวิชาการ

Download: Download รายงานวิจัย คลิกได้ที่นี่ค่ะ PDF Format 2.14MB