ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: อาคม อารยาวิชานนท์

ชื่อเรื่อง/Title: แพทย์วินิจฉัยภาวะความจำเสื่อมได้หรือไม่?

แหล่งที่มา/Source: สารศิริราช. ปีที่ 52, ฉบับที่ 8, สิงหาคม, 2543, หน้า 528-532

รายละเอียด / Details:

คณะผู้วิจัยได้ศึกษาว่าแพทย์ที่ดูแลรักษาผู้ป่วยในหอผู้ป่วยอายุรศาสตร์สามารถวินิจฉัยภาวะความจำเสื่อมได้หรือไม่ โดยทำการศึกษาผู้ป่วยในหอผู้ป่วยอายุรศาสตร์โรงพยาบาลศิริราช จำนวน 150 ราย ที่ให้ความร่วมมือและมีสติสัมปชัญญะดี โดยทำการศึกษาในขณะอาการเจ็บป่วยทุเลาแล้ว และก่อนจำหน่ายออกจากโรงพยาบาล ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2542 ถึงเดือนพฤศจิกายน 2542 ผู้ป่วยทุกรายจะได้รับการประเมินเกี่ยวกับความจำ รวมถึงการตรวจโดยใช้แบบทดสอบต่างๆ ได้แก่ แบบทดสอบสภาพสมองไทย (Thai Mental State Examination : TMSE) การวาดรูปนาฬิกา การประเมินเรื่องการทำงานและกิจวัตรประจำวัน การวินิจฉัยภาวะความจำเสื่อมในผู้ป่วยใช้เกณฑ์การวินิจฉัยตาม DSM-IV ระดับความรุนแรงของภาวะความจำเสื่อมประเมินโดยอาศัยข้อมูลข้างต้น และการพึ่งพาบุคคลอื่น การวินิจฉัยภาวะความจำเสื่อมของแพทย์ผู้ดูแลผู้ป่วยได้รับการบันทึกเพื่อประเมินว่าแพทย์สามารถวินิจฉัยภาวะความจำเสื่อมได้หรือไม่ ผลการศึกษาพบว่ามีผู้ป่วยความจำเสื่อมทั้งหมด 49 รายจาก 150 ราย ผู้ป่วย 33 ราย มีความจำเสื่อมเล็กน้อย 13 ราย มีความจำเสื่อมปานกลาง และ 3 รายมีความจำเสื่อมมาก แพทย์ที่ดูแลผู้ป่วยในหอผู้ป่วยอายุรศาสตร์ สามารถวินิจฉัยภาวะความจำเสื่อมได้เพียง 2 รายเท่านั้น คิดเป็นร้อยละ 4 และทั้ง 2 ราย ที่วินิจฉัยได้เป็นผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นความจำเสื่อมแล้วก่อนรับเข้านอนโรงพยาบาล และมีความจำเสื่อมได้น้อยมากซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้การวินิจฉัยภาวะความจำเสื่อมล่าช้า เนื่องจากแพทยฺ์ไม่ได้ตระหนักถึงภาวะนี้ อายุรแพทย์ควรใส่ใจกับภาวะความจำเสื่อมมากขึ้น เพราะการวินิจฉัยภาวะความจำเสื่อมในระยะเริ่มต้นหรือมีอาการน้อยสามารถทำให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลรักษาที่เหมาะสม

Keywords: ภาวะความจำเสื่อม, วินิจฉัย, ความจำเสื่อม

ปีที่เผยแพร่/Year: 2543

Address: คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล, มหาวิทยาลัยมหิดล

Code: 00004102

ISSN/ISBN: 0125-152X

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: บทคัดย่อ: วารสารวิชาการ

Download: -