ฐานข้อมูลวิจัยด้านสุขภาพจิตและจิตเวช

ผู้วิจัย/Authors: ธำรง ทัศนาญชลี, ขนิษฐา บำเพ็ญผล, สาลิกา โค้วบุญงาม, ราณี ฉายินทุ

ชื่อเรื่อง/Title: ปัญหาสุขภาพจิตของพนักงานบริการบนเครื่องบิน.

แหล่งที่มา/Source: วารสารสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย ปีที่ 31 ฉบับที่ 3 กรกฎาคม-กันยายน พ.ศ. 2529 , 27-32

รายละเอียด / Details:

วัตถุประสงค์ของการศึกษา 1. เพื่อสำรวจว่าพนักงานของสายการบินไทยที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่บนเครื่องบินจะมีปัญหาทางด้านสุขภาพจิตมากน้อยเพียงใด 2. เพื่อเปรียบเทียบดูว่าพนักงานบริการหญิงกับพนักงานบริการชาย จะมีปัญหาทางด้านสุขภาพจิตแตกต่างกันหรือไม่ 3. เพื่อเป็นแนวทางในการเผยแพร่ความรู้ด้านสุขภาพจิตต่อไป ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 1. ทราบว่าพนักงานบริการบนเครื่องบินของสายการบินไทยมีปัญหาด้านสุขภาพจิตหรือไม่ มากน้อยเพียงใด 2. ทราบว่าพนักงานบริการหญิงกับพนักงานบริการชายมีปัญหาแตกต่างกันหรือไม่ 3. เป็นการเผยแพร่ความรู้ทางสุขภาพจิตและป้องกันปัญหาสุขภาพจิต ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ ขอบเขตของการศึกษา ศึกษาเฉพาะพนักงานบริการบนเครื่องบินของสายการบินไทยเท่านั้น วิธีการศึกษา 1. เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา เป็นแบบสอบถามที่แปลและเรียบเรียงมาจาก Cornell Medical Index (C M I) ของนายแพทย์ยรรยง ศุทธรัตน์ ซึ่งได้เคยศึกษาสำรวจมาแล้วในประเทศไทย และสามารถใช้ประโยชน์ในการตรวจ กรองผู้ป่วยทางจิตเวชได้ นอกจากนี้ได้มีผู้เคยนำไปใช้สำรวจปัญหาสุขภาพจิตในนักเรียนวัยรุ่นมาแล้ว ลักษณะของแบบสอบถามนี้เป็นคำถาม ปิด มีแบบสอบถามสำหรับเพศชายและเพศหญิง แยกตอบคนละชุด การตอบจะให้ผู้ถูกสำรวจตอบเพียง “ใช่” หรือ “ไม่ใช่” เท่านั้น และในคำถามข้อใดที่ผู้ถูกสำรวจไม่แน่ใจในการตอบก็ให้เดาตอบ แบบสอบถามประกอบด้วย 2 ส่วนคือ 1. เป็นคำถามเกี่ยวกับสุขภาพของร่างกายในระบบต่าง ๆ มีรวมทั้งหมด 138 ข้อ 2. เป็นคำถามเกี่ยวกับจิตใจ และอารมณ์ มีรวมทั้งหมด 57 ข้อ 3. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย พนักงานบริการของสายการบินไทยที่ปฏิบัติหน้าที่ประจำบนเครื่องบิน เป็นชาย 50 คน หญิง 50 คน โดยการแจกแบบสอบถามให้กรอกข้อมูล สรุปผลการศึกษา จากการสำรวจปัญหาสุขภาพจิตของพนักงานบริการบนเครื่องบินของสายการบินไทย จำนวน 100 ราย พบว่า 1. พนักงานบริการบนเครื่องบินสายการบินไทย มีสุขภาพจิตปกติร้อยละ 88 และมีคะแนนสูงกว่าเกณฑ์ปกติร้อยละ 12 2. ค่าเฉลี่ยคะแนนสุขภาพจิตปกติระหว่างพนักงานหญิงกับพนักงานชาย ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ 3. จำนวนของกลุ่มตัวอย่างที่มีคะแนนเกินเกณฑ์ปกติจะพบได้ในหญิงมากกว่าชาย 4. เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มตัวอย่างอื่น ๆ ที่เคยศึกษาไว้แล้ว พบว่า คะแนนเฉลี่ยที่ได้ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ

Keywords: CMI, สุขภาพจิต, ความเครียด, เครียด, จิตเวช, จิตเวชศาสตร์, พนักงานบริการบนเครื่องบิน, ปัญหาสุขภาพจิต

ปีที่เผยแพร่/Year: 2529

Address: โรงพยาบาลนิติจิตเวช กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข

Code: 100293103279

ISSN/ISBN: 0125-6985

Country of publication: ประเทศไทย

Language: ภาษาไทย

Category: บทคัดย่อ: วารสารวิชาการ

Download: Download รายงานวิจัย คลิกได้ที่นี่ค่ะ PDF Format 1.33MB