รายงานสถานการณ์การฆ่าตัวตายในประเทศไทย ปีงบประมาณ 2566

ปีงบประมาณ 2566 (ตุลาคม 2565 - กันยายน 2566) พบว่า คนไทยเสียชีวิตจากการฆ่าตัวตาย 5,172 คน หรือเท่ากับ 7.94 ต่อแสนประชากร เฉลี่ยวันละ 14 คน หรือเสียชีวิต 1 คน ในทุก 2 ชั่วโมง (มบ.1 กองยุทธศาสตร์และแผนงาน, 2566) และคนไทยพยายามฆ่าตัวตาย 31,110 คน หรือเท่ากับ 47.74 ต่อแสนประชากร เฉลี่ยวันละ 85 คน หรือมีผู้พยายามฆ่าตัวตาย 7 คน ในทุก 2 ชั่วโมง (HDC, 2566) จากการทบทวนข้อมูลสอบสวนโรคและผลศึกษาวิจัยเรื่องการฆ่าตัวตาย จะพบว่า …

1. ผู้ที่ฆ่าตัวตายมักจะมีความเปราะบางมีความอ่อนแอหรือมีปัจจัยเสี่ยงเสี่ยงอยู่ก่อน เช่น ป่วยโรคจิตเวชที่รุนแรง(โรคซึมเศร้า โรคจิต โรคอารมณ์สองขั้ว โรคติดการพนัน ทั้งที่ได้รับการรักษาและไม่ได้รับการรักษา) ป่วยโรคทางกายรุนแรงเรื้อรัง (โรคมะเร็ง โรคอัมพฤกษ์ โรคไตวายเรื้อรัง โรคเอดส์ เป็นต้น) มีโรคติดสุรา,ติดสารเสพติด บุคลิกภาพหุนหันพันแล่น หรือมีประสบการณ์ถูกทารุณในวัยเด็ก

2. ผู้ที่ฆ่าตัวตายมักจะอยู่ในสภาพแวดล้อม(สังคม หรือครอบครัว) ที่มีความคาดหวังสูง

3. เมื่อผู้ที่มีความเปราะบางหรือมีความเสี่ยงเหล่านี้เผชิญกับวิกฤติชีวิตที่ทำให้อับอาย หรือพ่ายแพ้ ร่วมกับรู้สึกอับจนหนทางหรือตกอยู่ในสถานการณ์ไม่มีทางออก ก็จะเกิดความคิดฆ่าตัวตายเกิดขึ้น

4.มื่อมีความคิดฆ่าตัวตายเกิดขึ้น หากบุคคลนี้ไม่กลัวตาย ทนต่อความเจ็บปวดได้สูง เคยรับรู้ถึงวิธีหรือมีตัวอย่างการฆ่าตัวตาย และเข้าถึงวัสดุอุปกรณ์หรือสถานที่ที่ใช้ฆ่าตัวตายได้ง่าย …จากมีเพียงแค่ความคิดก็นำไปสู่การกระทำ… เหตุการณ์ฆ่าตัวตายก็เกิดขึ้น

12 กุมภาพันธ์ 2567

Views, 1137


ไฟล์แนบ :